กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพกับ อสม.อย. ชุมชนจงหัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบล(อสม.)

1. นางสาว จุไรรัตน์ จิรพงศ์วิริยะ 082-8218456
2. นางสาว สุนิศา จันทรกุล 089-6585099
3. นางสาว วราภรณ์ ตั้งหลุน 084-8591459
4. นางสาว ศรินทิพย์ แซ่ซอ 089-4653142
5. นาง กนกวรรณ ภูษิตขจร 081-3050238

โรงเรียนจงหัว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนที่ได้รับการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 291 ครั้วเรือน ยังไม่มีครัวเรือนที่ได้รับการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ

0.00

ในปัจจุบัน ประเทศไทย มีการพัฒนาไปในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ด้านเทคโนโลยีก็เป็นอีกด้านที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด การเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไป มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือ สามารถทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ข้อเสียก็คือ ข้อมูลที่ได้มาอาจประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือบิดเบือนจากความเป็นจริง ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพก็เหมือนกัน มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่มีตามท้องตลาด ที่มีสรรพคุณเกินจริง กลุ่มผู้สูงอายุหรือประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ลำพัง มักจะตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์จำพวกนี้อยู่มาก ด้วยเหตุผลที่ว่าดูมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือการันตี สิ่งเหล่านี้อาจเป็นภัยเงียบที่จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาสู่ผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น ยาชุด หลายคนทราบอันตรายที่จะได้รับจากยาชุด แต่ยังมีอีกมาก ที่คิดว่ายาชุด สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้เพราะสารบางตัวที่เป็นส่วนประกอบในยาชุด สามารถลดอาการเจ็บปวดได้ ทำให้เสมือนคล้ายหายจากอาการเจ็บปวด แต่ ผลเสียที่จะตามมาจากการกินยาประเภทนี้ อาจร้ายแรงจนถึงแกชีวิตก็เป็นได้ ทางอสม.อย.ชุมชนจงหัว จึงจัดทำโครงการ รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพกับอสม.อย.ชุมชนจงหัว เพื่อเป็นการนำร่องให้ประชาชนในชุมชนจงหัว มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่มากับยาชุดหรือยาสมุนไพร ผู้เข้าร่วมสามารถตรวจสอบข้อมูลข้เท็จจริงเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง สามารถบอกกล่าวข้อมูลที่ถูกต้องกับคนรอบข้างได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนชุมชนจงหัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานหรือผ่านการรับรองจาก อย.สามารถตรวจสอบหาข้อมูลเบื้องต้นด้วยตนเองได้

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

60.00 48.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนจงหัวได้รับการสุ่มตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้อยละ 54 ของครัวเรือนเป้าหมายได้รับการสุ่มตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์สุขภาพ

291.00 160.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนที่ทำการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ(ครัวเรือน 160

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/11/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเปิดรับสมัครกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรม วางแผนการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เตรียมเอกสารในการจัดอบรม เชิญวิทยากรอบรมให้ความรู้
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับประชุมคณะทำงาน20 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คณะทำงานแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ผลลัพธ์ ทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการทำงาน สามารถเห็นภาพขั้นตอนในการทำงานชัดเจนขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพรายครัวเรือน และสรุปเนื้อหาของการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพรายครัวเรือน และสรุปเนื้อหาของการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการจัดกิจกรรมสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพรายครัวเรือน
08:30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. เจ้าหน้าที่พร้อมคณะทำงานลงพื้นที่ รณรงค์ในชุมชนสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพรายครัวเรือน
12:00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 - 15:30 น. เจ้าหน้าที และคณะทำงาน สรุปกิจกรรมสุ่มตรวจรายครัวเรือนและสรุปการทำงาน
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มกิจกรรมประชุมคณะทำงานเวลา 14.30 น.

งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 20คนๆละ 70 บาท ป็นเงิน1,400บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการประชุมสรุปผลงาน จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
-ลำโพงเคลื่อนที่แบบพกพาสำหรับรณรงค์ในชุมชน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เพื่อต้องการดูผลตอบรับหลังจากผ่านการอบรมแล้ว

ผลลัพธ์
ประชาชนชุมชนจงหัวสามารถเข้าใจ ความอันตรายและความร้ายแรงของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ผ่านการรับรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพกับอสม.อย.ชุมชนจงหัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพกับอสม.อย.ชุมชนจงหัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการจัดอบรม
08:30 น.-09:00 น. ลงทะเบียน
09:15 น.-09:45 น. พิธีเปิดการอบรมโครงการกล่าวรายงานโดย ภญ.สุขมาลย์ พัฒนศิริ และกล่าวเปิดโดยประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสตูล
10:00 น.-12:00 น. วิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ รู้เท่าทันผลิตภัณฑ์สุขภาพกับอสม.อย.ชุมชนจงหัว โดยวิทยากร ภก.นิธิศ สุธาบุล
12:00 น.-13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น.-15:00 น.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหาสารปนเปื้อนหรือสารอันตรายในผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยวิทยากร ภก.นิธิศ สุธาบุล
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น

งบประมาณ
-ค่าวิทยากร ให้ความรู้โดยภก.นิธิศ สุธาบุล เป็นเวลา 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5x2เมตร (ตารางเมตรละ 150 บาท ) เป็นเงิน 450 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 60 ชุดๆละ 100 เป็นเงิน 6,000 บาทประกอบด้วย
แบบทดสอบก่อน-หลัง
แบบสำรวจรายครัวเรือน
ชุดเครื่องเขียน ประกอบด้วย ปากกา สมุด
กระเป๋าผ้าลดโลกร้อน 60 ใบ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มช่วงเช้า 60คนๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าอาหารและเครื่องดื่มช่วงบ่าย 60 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60 คนๆละ70 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ
-ค่าสรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 2 เล่มๆ250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
-เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นได้
-ทำให้ประชาชนปลอดภัยในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
-ผู้ผ่านการอบรมสามารถตรวจสอบและสามารถส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้บุคคลข้างเคียงได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,250.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในชุมชนจงหัวสามารถตรวจสอบข้อมูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้นได้ และสามารถบอกเล่าข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำกับคนรอบข้างได้


>