กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรโดยนางสาวซัลมาสอหมัด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในพื้นที่ตำบลลำไพล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี และส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงฟันแท้ในกลุ่มเด็กวัยเรียน สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี จากผลการสำรวจพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเปรียบเทียบเด็ก 3 ปี และเด็ก 5 ปี ที่มาสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีพฤติกรรมแปรงฟันเองร้อยละ 40.1 และเด็กอายุ 5 ปี มีพฤติกรรมแปรงฟันเองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.4 การแปรงฟันเองของเด็กไม่สะอาด เท่าการที่มีผู้ปกครองช่วยแปรงฟันให้ ประกอบกับจากการสำรวจพบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีพฤติกรรมดื่มนมรสหวาน/รสเปรี้ยวร้อยละ 44.5 และเด็กอายุ 5 ปี มีพฤติกรรมดื่มนมรสหวาน/รสเปรี้ยวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47.6 เมื่อมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ผลการสำรวจสภาะทันตสุขภาพเปรียบเทียบเด็ก 3 ปี และเด็ก 5 ปี ที่มาสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 52.9 และเด็ก 5 ปีมีฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.6 โดยมีฟันผุต้องอุดในเด็ก 3 ปี ร้อยละ 27.5 และฟันผุต้องอุดเพิ่มขึ้นในเด็กอายุ 5 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.2 อีกทั้งพบว่าเด็ก 3 ปีมีฟันผุต้องถอนร้อยละ 13 และเด็ก 5 ปีมีฟันผุต้องถอนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.1 จะเห็นได้ว่ายิ่งเด็กอายุมากขึ้น ฟันผุก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพ ช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล ประกอบกับเมื่อมีฟันน้ำนมผุ ทำให้เด็กไม่อยากทานอาหารเพราะเคี้ยวลำบาก และอาการปวดฟันที่คอยรบกวนจิตใจในเวลาเรียน ผู้ปกครองมักเข้าใจว่า ฟันน้ำนมผุไม่เป็นไร เพราะยังไม่ใช่ฟันแท้ และอีกสักพักหนึ่งฟันน้ำนมเหล่านี้ก็จะหลุดไปเอง ส่วนเด็กๆ ก็กลัววิธีการรักษาของทันตแพทย์ที่ใช้เครื่องกรอฟัน ทำให้กลัวที่จะพบทันตแพทย์จำเป็นต้องได้รับการอุดฟันแบบSMART Technique และหยุดฟันผุด้วย silver diamine fluoride (SDF) การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย สอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเด็ก 12 ปี พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาลำไพลมีพฤติกรรมแปรงฟันก่อนนอนร้อยละ 83 ที่มาจากแบบบันทึกสภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเฝ้าระวังทันตสุขภาพ อำเภอเทพา พ.ศ.2566 โดยสูงกว่าระดับอำเภอเทพาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 และระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 38.6 ที่มาจากสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 และสอดคล้องกับผลการสำรวจสภาะทันตสุขภาพเด็ก 12 ปี พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาลำไพล มีฟันผุร้อยละ 47.7 ซึ่งสูงกว่าระดับอำเภอเทพาอยู่ที่ร้อยละ 11.1 ระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 35.2 ที่มาจาก HDC จังหวัดสงขลา ข้อมูล สืบค้นข้อมูล ณ 30 เม.ย. พ.ศ.2567 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรม และมีกิจกรรมส่งเสริมด้านทันตสุขภาพ ทำให้สุขภาพช่องปากนักเรียนดีขึ้น พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลมีฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 75.4 ซึ่งสูงกว่าระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 72.8 และสูงกว่าระดับประเทศ 66.7 ที่มาจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2566 สืบค้นข้อมูล ณ 30 เม.ย. พ.ศ.2567หลังจากดำเนินโครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพลเมื่อปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพลเป็นเงิน 49,000 บาท ได้รับรางวัลชนะเลิศเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับจังหวัดสงขลา และรางวัลระดับดีเยี่ยมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี
ระดับประเทศ และขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลเทพาร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึง ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ (การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กประถม) ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลทำความสะอาด ช่องปากอย่างถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม โดยการให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดี และลดจำนวนฟันที่ผุดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ (การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน) ขึ้น และเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามไปยังฟันแท้และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้ง ทันตบุคลากร บุคลากรครู ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครือข่ายสถานศึกษาลำไพลซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ร่วมกันในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีลำไพล” จึงร่วมกับเทศบาลตำบลลำไพลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 3 จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 3–5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปริก

 

0.00
2 เกิดผู้ปกครองต้นแบบการดูแลฟันเด็ก “หนูน้อยฟันดีไม่มีผุ” เพื่อเสริมแรง สร้างขวัญและกำลังใจ

 

0.00
3 ผู้ปกครองความรู้ ความเข้าใจ มีความเข้าใจและตระหนักถึงการเกิดโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
4 ผู้ปกครองมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และชุมชนในการป้องกันโรคฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ 3-5 ปี

 

0.00
5 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กอายุ 3–5 ปีโดยทันตบุคลากร ได้แก่การตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ และการส่งเสริมให้มีการแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 237
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,900
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 1,965

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมครู/เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมครู/เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมครู/เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
2.ทันตบุคลากรตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนและคืนข้อมูลให้ครู วางแผนโครงการร่วมกัน
3.ครูจัดนิทรรศการ ผลิตสื่อการเรียนการสอน ในห้องเรียน และภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปริก ค่าเอกสาร - แบบทดสอบความรู้ครูพี่เลี้ยงก่อน-หลังการอบรม   0 บาท - ค่าจัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก  0 บาท - ค่าจัดทำนิทรรศการเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก  0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 แจกสมุดบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กแก่ผู้ปกครอง (ผู้ปกครอง จำนวน 65 คน / เด็กปฐมวัย จำนวน 65 คน)

ชื่อกิจกรรม
แจกสมุดบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กแก่ผู้ปกครอง (ผู้ปกครอง จำนวน 65 คน / เด็กปฐมวัย จำนวน 65 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แจกสมุดบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กแก่ผู้ปกครอง/บันทึกการแปรงฟันประจำวันของเด็กโดยผู้ปกครอง 2.การตรวจสุขภาพฟันโดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรมโรงพยาบาลเทพา /ประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์/การยอมสีฟันแก่เด็ก 3.กิจกรรม “สัปดาห์หรรษา พาลูกสุขภาพดี” ให้ผู้ปกครองส่งรูปภาพเด็กทำกิจกรรมผ่านช่องทางไลน์ (วันจันทร์ - ฟันดี ลูกรักแปรงฟันนานๆ/ วันอังคาร - ทานผัก ลูกรักแข็งแรงสุดๆ/ วันพุธ – หยุดฟันผุ แปรงฟันก่อนนอน/ วันพฤหัสบดี - มีแรง ลูกรักออกกำลังกาย/ วันศุกร์ – ลูกรักดื่มนม/ วันเสาร์-เรารักการอ่าน ลูกรักอ่านนิทาน/ วันอาทิตย์-จิตแจ่มใส ลูกรักอารมณ์ดี)

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศูนย์เด็กเล็ก)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศูนย์เด็กเล็ก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1×2 เมตร จำนวน 1 ป้ายราคา 200บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 237 คน เป็นเงิน 6,425 บาท 3.ค่าที่วางแปรงสีฟันพร้อมแก้วน้ำราคา 1,000 บาท xจำนวน 20 อัน เป็นเงิน 20,000 บาท
4.ค่าเอกสาร -ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันเล่มละ 5 บาทx237 คน เป็นเงิน 1,185 บาท -แบบทดสอบความรู้ผู้ปกครองก่อน-หลังการอบรม จำนวน 35 คนx10 บาท เป็นเงิน 350 บาท -แบบทดสอบการตรวจฟันผุของเด็กโดยผู้ปกครองหลังอบรม จำนวน 237 คนx5 บาท เป็นเงิน 1,185 บาท
-เกียรติบัตร “หนูน้อยฟันดีไม่มีผุ” - ค่าจัดทำสื่อการเรียนการสอนและจัดทำนิทรรศการเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้รับสนับสนุนโปสเตอร์จากโรงพยาบาลเทพา ไม่มีค่าใช้จ่าย -อุปกรณ์การอบรมราคา10 บาท x จำนวน 274 ชุด เป็นเงิน 2,740 บาท 5. ค่าจัดชื้อแปรงสีฟันและยาสีฟันราคา 50 บาท x จำนวน 274 ชุด เป็นเงิน 13,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45785.00

กิจกรรมที่ 4 บริการทันตกรรม

ชื่อกิจกรรม
บริการทันตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดซื้อวัสดุทางทันตกรรม
1.1 silver diamine fluoride (SDF) จำนวน 1 ขวด ราคา 2,250 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท 1.2 วัสดุอุดฟันน้ำนมจำนวน 50 เม็ด 1 กล่องxราคา 4,100 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท 1.3 สีย้อมฟัน ประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน 5 ขวด x 70 เป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (โรงเรียน)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (โรงเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดชื้อแปรงสีฟันราคา 15 บาทxจำนวน 1,900 ชุด เป็นเงิน 28,500 บาท.
  2. ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 เล่มละ 5 บาทx 1,600 คน เป็นเงิน 8,000 บาท 3.ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันสำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เล่มละ 20 บาท x 300 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
  3. ให้บริการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ ตลอดจนเคลือบหลุมร่องฟันในฟันแท้ และส่งต่อกรณีมีฟันผุลุกลามรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 94,985.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
2. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
3. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
4. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนครูในโรงเรียนเครือข่ายมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน


>