กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน ประจำปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทรโดยนางสาวซัลมาสอหมัด
3.
หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี และส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงฟันแท้ในกลุ่มเด็กวัยเรียน สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี จากผลการสำรวจพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเปรียบเทียบเด็ก 3 ปี และเด็ก 5 ปี ที่มาสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีพฤติกรรมแปรงฟันเองร้อยละ 40.1 และเด็กอายุ 5 ปี มีพฤติกรรมแปรงฟันเองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.4 การแปรงฟันเองของเด็กไม่สะอาด เท่าการที่มีผู้ปกครองช่วยแปรงฟันให้ ประกอบกับจากการสำรวจพบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีพฤติกรรมดื่มนมรสหวาน/รสเปรี้ยวร้อยละ 44.5 และเด็กอายุ 5 ปี มีพฤติกรรมดื่มนมรสหวาน/รสเปรี้ยวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47.6 เมื่อมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ผลการสำรวจสภาะทันตสุขภาพเปรียบเทียบเด็ก 3 ปี และเด็ก 5 ปี ที่มาสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 52.9 และเด็ก 5 ปีมีฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.6 โดยมีฟันผุต้องอุดในเด็ก 3 ปี ร้อยละ 27.5 และฟันผุต้องอุดเพิ่มขึ้นในเด็กอายุ 5 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.2 อีกทั้งพบว่าเด็ก 3 ปีมีฟันผุต้องถอนร้อยละ 13 และเด็ก 5 ปีมีฟันผุต้องถอนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.1 จะเห็นได้ว่ายิ่งเด็กอายุมากขึ้น ฟันผุก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพ ช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล ประกอบกับเมื่อมีฟันน้ำนมผุ ทำให้เด็กไม่อยากทานอาหารเพราะเคี้ยวลำบาก และอาการปวดฟันที่คอยรบกวนจิตใจในเวลาเรียน ผู้ปกครองมักเข้าใจว่า ฟันน้ำนมผุไม่เป็นไร เพราะยังไม่ใช่ฟันแท้ และอีกสักพักหนึ่งฟันน้ำนมเหล่านี้ก็จะหลุดไปเอง ส่วนเด็กๆ ก็กลัววิธีการรักษาของทันตแพทย์ที่ใช้เครื่องกรอฟัน ทำให้กลัวที่จะพบทันตแพทย์จำเป็นต้องได้รับการอุดฟันแบบSMART Technique และหยุดฟันผุด้วย silver diamine fluoride (SDF) การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย สอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเด็ก 12 ปี พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาลำไพลมีพฤติกรรมแปรงฟันก่อนนอนร้อยละ 83 ที่มาจากแบบบันทึกสภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเฝ้าระวังทันตสุขภาพ อำเภอเทพา พ.ศ.2566 โดยสูงกว่าระดับอำเภอเทพาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 และระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 38.6 ที่มาจากสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 และสอดคล้องกับผลการสำรวจสภาะทันตสุขภาพเด็ก 12 ปี พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาลำไพล มีฟันผุร้อยละ 47.7 ซึ่งสูงกว่าระดับอำเภอเทพาอยู่ที่ร้อยละ 11.1 ระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 35.2 ที่มาจาก HDC จังหวัดสงขลา ข้อมูล สืบค้นข้อมูล ณ 30 เม.ย. พ.ศ.2567 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรม และมีกิจกรรมส่งเสริมด้านทันตสุขภาพ ทำให้สุขภาพช่องปากนักเรียนดีขึ้น พบว่าเด็กอายุ 12 ปีตำบลลำไพลมีฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) ร้อยละ 75.4 ซึ่งสูงกว่าระดับจังหวัดสงขลาอยู่ที่ร้อยละ 72.8 และสูงกว่าระดับประเทศ 66.7 ที่มาจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2566 สืบค้นข้อมูล ณ 30 เม.ย. พ.ศ.2567หลังจากดำเนินโครงการเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลลำไพลเมื่อปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพลเป็นเงิน 49,000 บาท ได้รับรางวัลชนะเลิศเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีระดับจังหวัดสงขลา และรางวัลระดับดีเยี่ยมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ระดับประเทศ และขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลเทพาร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลำไพล ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึง ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ (การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กประถม) ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลทำความสะอาด ช่องปากอย่างถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม โดยการให้ความรู้ผู้ปกครอง ครู โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดี และลดจำนวนฟันที่ผุดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ (การป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน) ขึ้น และเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามไปยังฟันแท้และทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้ง ทันตบุคลากร บุคลากรครู ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครือข่ายสถานศึกษาลำไพลซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านแม่ที โรงเรียนบ้านลำไพล โรงเรียนลำไพลราษฎร์อุทิศ โรงเรียนบ้านลำเปา โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ โรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนวัดปริก และโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ร่วมกันในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีลำไพล” จึงร่วมกับเทศบาลตำบลลำไพลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 3 จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 3–5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปริก
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เกิดผู้ปกครองต้นแบบการดูแลฟันเด็ก “หนูน้อยฟันดีไม่มีผุ” เพื่อเสริมแรง สร้างขวัญและกำลังใจ
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ผู้ปกครองความรู้ ความเข้าใจ มีความเข้าใจและตระหนักถึงการเกิดโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยง และชุมชนในการป้องกันโรคฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ 3-5 ปี
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กอายุ 3–5 ปีโดยทันตบุคลากร ได้แก่การตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ และการส่งเสริมให้มีการแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวัน
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมครู/เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
    รายละเอียด

    1.ประชุมครู/เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
    2.ทันตบุคลากรตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนและคืนข้อมูลให้ครู วางแผนโครงการร่วมกัน
    3.ครูจัดนิทรรศการ ผลิตสื่อการเรียนการสอน ในห้องเรียน และภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปริก ค่าเอกสาร - แบบทดสอบความรู้ครูพี่เลี้ยงก่อน-หลังการอบรม  0 บาท - ค่าจัดทำสื่อการเรียนการสอนเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก  0 บาท - ค่าจัดทำนิทรรศการเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก  0 บาท

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. แจกสมุดบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กแก่ผู้ปกครอง (ผู้ปกครอง จำนวน 65 คน / เด็กปฐมวัย จำนวน 65 คน)
    รายละเอียด

    1.แจกสมุดบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กแก่ผู้ปกครอง/บันทึกการแปรงฟันประจำวันของเด็กโดยผู้ปกครอง 2.การตรวจสุขภาพฟันโดยเจ้าหน้าที่ทันตกรรมโรงพยาบาลเทพา /ประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์/การยอมสีฟันแก่เด็ก 3.กิจกรรม “สัปดาห์หรรษา พาลูกสุขภาพดี” ให้ผู้ปกครองส่งรูปภาพเด็กทำกิจกรรมผ่านช่องทางไลน์ (วันจันทร์ - ฟันดี ลูกรักแปรงฟันนานๆ/ วันอังคาร - ทานผัก ลูกรักแข็งแรงสุดๆ/ วันพุธ – หยุดฟันผุ แปรงฟันก่อนนอน/ วันพฤหัสบดี - มีแรง ลูกรักออกกำลังกาย/ วันศุกร์ – ลูกรักดื่มนม/ วันเสาร์-เรารักการอ่าน ลูกรักอ่านนิทาน/ วันอาทิตย์-จิตแจ่มใส ลูกรักอารมณ์ดี)

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศูนย์เด็กเล็ก)
    รายละเอียด

    1.ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1×2 เมตร จำนวน 1 ป้ายราคา 200บาท
    2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็ก จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 237 คน เป็นเงิน 6,425 บาท 3.ค่าที่วางแปรงสีฟันพร้อมแก้วน้ำราคา 1,000 บาท xจำนวน 20 อัน เป็นเงิน 20,000 บาท
    4.ค่าเอกสาร -ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันเล่มละ 5 บาทx237 คน เป็นเงิน 1,185 บาท -แบบทดสอบความรู้ผู้ปกครองก่อน-หลังการอบรม จำนวน 35 คนx10 บาท เป็นเงิน 350 บาท -แบบทดสอบการตรวจฟันผุของเด็กโดยผู้ปกครองหลังอบรม จำนวน 237 คนx5 บาท เป็นเงิน 1,185 บาท
    -เกียรติบัตร “หนูน้อยฟันดีไม่มีผุ” - ค่าจัดทำสื่อการเรียนการสอนและจัดทำนิทรรศการเรื่องส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้รับสนับสนุนโปสเตอร์จากโรงพยาบาลเทพา ไม่มีค่าใช้จ่าย -อุปกรณ์การอบรมราคา10 บาท x จำนวน 274 ชุด เป็นเงิน 2,740 บาท 5. ค่าจัดชื้อแปรงสีฟันและยาสีฟันราคา 50 บาท x จำนวน 274 ชุด เป็นเงิน 13,700 บาท

    งบประมาณ 45,785.00 บาท
  • 4. บริการทันตกรรม
    รายละเอียด

    1.ค่าจัดซื้อวัสดุทางทันตกรรม
    1.1 silver diamine fluoride (SDF) จำนวน 1 ขวด ราคา 2,250 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท 1.2 วัสดุอุดฟันน้ำนมจำนวน 50 เม็ด 1 กล่องxราคา 4,100 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท 1.3 สีย้อมฟัน ประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟัน 5 ขวด x 70 เป็นเงิน 350 บาท

    งบประมาณ 6,700.00 บาท
  • 5. ให้ความรู้การดูแลช่องปาก (โรงเรียน)
    รายละเอียด
    1. ค่าจัดชื้อแปรงสีฟันราคา 15 บาทxจำนวน 1,900 ชุด เป็นเงิน 28,500 บาท.
    2. ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 เล่มละ 5 บาทx 1,600 คน เป็นเงิน 8,000 บาท 3.ชุดเอกสารสมุดบันทึกการแปรงฟันสำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เล่มละ 20 บาท x 300 คน เป็นเงิน 6,000 บาท
    3. ให้บริการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ ตลอดจนเคลือบหลุมร่องฟันในฟันแท้ และส่งต่อกรณีมีฟันผุลุกลามรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่จากกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา ไม่มีค่าใช้จ่าย
    งบประมาณ 42,500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนในพื้นที่ตำบลลำไพล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 94,985.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
  2. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  4. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนครูในโรงเรียนเครือข่ายมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียนและวัยเรียน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 94,985.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................