กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เวียงทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสุขภาพดี ลดป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เวียงทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผาสุก

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผาสุก ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ - พื้นที่หมู่ที่ 7, 8, 10 และ 11 ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจคัดกรอง และประเมินความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

0.00
2 2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรอบรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพถูกต้อง

 

0.00
3 3. เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรค และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อ

 

0.00
4 4. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบภาวะสุขภาพของตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 83
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 348
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,960
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกตรวจคัดกรองสุขภาพประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปเชิงรุกในชุมชน 3.1 ประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต) และให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวาจา 3.2 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ป

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจคัดกรองสุขภาพประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปเชิงรุกในชุมชน 3.1 ประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต) และให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวาจา 3.2 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าป้ายไวนิล กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพ จำนวน 1 ผืน (ขนาด 1x3 เมตรๆ ละ 150 บาท) เป็นเงิน 3,450 บาท 2) ค่าเอกสารตรวจคัดกรองสุขภาพ จำนวน 1,960 แผ่นๆ ละ 1 บาท    เป็นเงิน 1,960 บาท 3) ค่าเอกสารแผ่นพับเรื่องโรคไม่ติดต่อ จำนวน 180 ชุดๆ ละ 1  บาท เป็นเงิน   180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2590.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วย 3อ 2ส แก่กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานและความดันโลหิต จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วย 3อ 2ส แก่กลุ่มเสี่ยงสูงเบาหวานและความดันโลหิต จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 ผืน (ขนาด 1x3 เมตรๆ ละ 150 บาท) เป็นเงิน 3,450 บาท 2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 34 คน x 1 มื้อๆ ละ 80 บาท     เป็นเงิน 2,720 บาท 3) ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน 34 คน x 2 มื้อๆ ละ 25 บาท   เป็นเงิน 1,700 บาท
4) ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท   เป็นเงิน 2,400 บาท
5) ค่าเครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหาร จำนวน 5 เครื่องๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 4 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9520.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ /โรคความดันโลหิตสูงที่คุมระดับความดันไม่ได้ ให้สามารถดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ /โรคความดันโลหิตสูงที่คุมระดับความดันไม่ได้ ให้สามารถดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ จำนวน 1 ผืน (ขนาด 1x3 เมตรๆ ละ 150 บาท) เป็นเงิน 3,450 บาท 2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 1 มื้อๆ ละ 80 บาท     เป็นเงิน 3,200 บาท 3) ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 2 มื้อๆ ละ 25 บาท   เป็นเงิน 2,000 บาท
4) ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท   เป็นเงิน 2,400 บาท
5) ค่าสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มีนาคม 2567 ถึง 24 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

กิจกรรมที่ 4 สรุป/รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุป/รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ค่าทำรูปเล่มสรุปโครงการ จำนวน 2 เล่มๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและสามารถจัดการดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง
2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่ออัตราป่วยจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อลดลง
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักถึงสภาวะสุขภาพของตนเอง


>