กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตาม(ยา) ไต By อสม.ยามู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1.นางนิรอปิอะ มะกาเจ(ผู้ขอโครงการ)
2.นางแวซงหะยีแยนา(คณะทำงาน)
3.นายอิมรอน อาแว(คณะทำงาน)
4.นางสาวโสภาวดี สัสดีกุล(เหรัญญิก)
5.นางแวสปีน๊ะ มะมิง(เลขา)

ในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก รวมถึงประเทศ ไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease,ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิด โรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัด ทดแทน ไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่งการบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิด โรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อมของไต ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน จากข้อมูลของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลยามู พบว่า ................ ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลยามู ได้จัดทำโครงการตาม(ยา) ไต By อสม.ยามู เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรค

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับโรค ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมทีมงานเพื่อดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมทีมงานเพื่อดำเนินงานเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมวางแผน กำกับติดตามการดำเนินงานในทีม อสม.เขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 2 ครั้ง = 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 2 ครั้ง = 3,600 บาท 1.2 อบรมเติมองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แก่ทีม อสม. - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท = 3,600 บาท - ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ 9,000 บาท
- ค่าไวนิล 1.5 x 2 ซม. 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24150.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูลติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดย อสม. 2.2 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามปัญหาจากการใช้ยา และปัญหาอื่นๆ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้ง แบ่งตามชุมชนในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 2 ครั้ง = 1,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 10 คน x 60 บาท x 2 ครั้ง = 1,200 บาท 2.3 ประสาน ปรึกษาปัญหาการใช้ยาร่วมกับเภสัชกรในผู้ป่วยที่มีปัญหาจากการใช้ยา 2.4 สรุปปัญหาที่พบจากการเยี่ยมบ้าน และแนวทางการแก้ปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท = 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาที่พบจากการเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาที่พบจากการเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ = 1,800 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท = 1,800 บาท 3.2 สรุปบทเรียนที่ได้จากการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามการใช้ยา เพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน


>