แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางธิดา สองเมือง
วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความ
รุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคมและ
เศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น ประเทศได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-
2564 มีมาตรการหลักในการบรรลุเป้าหมายสู่การยุติวัณโรคของประเทศ คือ 1) ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำได้รับการรักษาครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2) อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 90 โดยใช้ 5
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ค้นให้พบ 2) จบด้วยหาย 3) พัฒนาระบบและเครือข่าย 4)นโยบายมุ่งมั่น และ 5)สร้างสรรค์นวัตกรรม สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่ ปี พ.ศ.2561-2565 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 8, 9, 10,10,10,11
ราย ตามลำดับ และปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 12 ราย อัตราป่วย 2.92 ต่อประชากรพันคน (งานวัณโรค, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง) ผู้ป่วยวัณโรคมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี และมีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อวัณโรคในทุกชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษา ปี๒๕๖๖ จำนวน ๑๒ ราย ซึ่งพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกิจกรรมคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๑ ราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และ ๑๑ ราย อยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการคัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรค
จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนาระบบบริการ การดำเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป
-
1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการเฝ้าระวังโรควัณโรคตัวชี้วัด : มีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรควัณโรคในชุมชนร้อยละ100ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและมีความรู้ในการเฝ้าระวังวัณโรค ค้นพบผู้ป่วยรายใหม่มากกว่าร้อยละ ๑ ของกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันแพร่เชื้อในชุมชน ในระดับพื้นที่ตัวชี้วัด : ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนร้อยละ ๑๐๐ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังโรควัณโรครายละเอียด
จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนัก 6 หมู่บ้าน จำนวน 8 แผ่น x 450 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
งบประมาณ 3,600.00 บาท - 2. คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงโดยใช้แบบฟอร์มคัดกรองผู้มีอาการสงสัยวัณโรคปอด ( กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน ๓๐ คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๗๐ คน และผู้สูงอายุ/ที่สูบบุหรี่ ๓๐๐ คน) และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๖ หมู่บ้านรายละเอียด
-อบรมให้ความรู้/คำแนะนำ/คัดกรองวัณโรค - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๓๐ บ.
x ๑ มื้อ x ๔๐๐ คน เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐บ. รวมเป็นเงิน ๑๒,๐๐๐บาท -ค่าวิทยากรวันละ ๓ ชม.q ละ ๖๐๐ บ.จำนวน ๖ วัน เป็นเงิน ๑๐,๘๐๐ บ. รวมเป็นเงิน ๑๐,๘๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๒,๘๐๐ บาทงบประมาณ 22,800.00 บาท - 3. ประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่แก่คณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันโรค หมู่บ้านละ ๑๐ คน จำนวน ๖ หมู่บ้าน (อสม.๕๔ คน ผู้นำชุมชน๖คน)รายละเอียด
-คืนข้อมูลสถานการณ์โรควัณโรค -วิเคราะห์ข้อมูลหาแนวทาง/มาตรการาในการแก้ไขปัญหา - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๓๐ บ.
x ๑ มื้อ x ๖๐ คน เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บ. รวมเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาทงบประมาณ 1,800.00 บาท - 4. อบรมเชิงปฎิบัติการฝึกทักษะการคัดกรองวัณโรคในชุมชนแก่แกนนำ อสม.รายละเอียด
-ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางรักษาป้องกัน -แนวทางการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๓๐ บาท X ๖๐ คน X ๑ มื้อ เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท -ค่าวิทยากร ๓ ชั่วโมง ๆ ๖๐๐ บาท ๓ ชั่วโมงเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท
งบประมาณ 3,600.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ม.3,ม.4,ม .6ม.12ม.15ม.17ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
รวมงบประมาณโครงการ 31,800.00 บาท
-แกนนำมีความรู้ความเข้าใจและแนวทางเกี่ยวกับการคัดกรองวัณโรค การเฝ้าระวัง -ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิด/สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ/สูบบุหรี่ ในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน -ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................