2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความ
รุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคมและ
เศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น ประเทศได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-
2564 มีมาตรการหลักในการบรรลุเป้าหมายสู่การยุติวัณโรคของประเทศ คือ 1) ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำได้รับการรักษาครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2) อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 90 โดยใช้ 5
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ค้นให้พบ 2) จบด้วยหาย 3) พัฒนาระบบและเครือข่าย 4)นโยบายมุ่งมั่น และ 5)สร้างสรรค์นวัตกรรม สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่ ปี พ.ศ.2561-2565 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 8, 9, 10,10,10,11
ราย ตามลำดับ และปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 12 ราย อัตราป่วย 2.92 ต่อประชากรพันคน (งานวัณโรค, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง) ผู้ป่วยวัณโรคมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี และมีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อวัณโรคในทุกชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษา ปี๒๕๖๖ จำนวน ๑๒ ราย ซึ่งพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกิจกรรมคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๑ ราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และ ๑๑ ราย อยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการคัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรค
จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนาระบบบริการ การดำเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/07/2024
กำหนดเสร็จ 31/12/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?-แกนนำมีความรู้ความเข้าใจและแนวทางเกี่ยวกับการคัดกรองวัณโรค การเฝ้าระวัง
-ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิด/สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ/สูบบุหรี่ ในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน
-ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน