โครงการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ2567
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ2567 |
รหัสโครงการ | 67-L5313-01-005 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง |
วันที่อนุมัติ | 16 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 31,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธิดา สองเมือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31,800.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 31,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความ
รุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคมและ
เศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น ประเทศได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560-
2564 มีมาตรการหลักในการบรรลุเป้าหมายสู่การยุติวัณโรคของประเทศ คือ 1) ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำได้รับการรักษาครอบคลุมร้อยละ 90 และ 2) อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 90 โดยใช้ 5
ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ค้นให้พบ 2) จบด้วยหาย 3) พัฒนาระบบและเครือข่าย 4)นโยบายมุ่งมั่น และ 5)สร้างสรรค์นวัตกรรม สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่ ปี พ.ศ.2561-2565 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 8, 9, 10,10,10,11
ราย ตามลำดับ และปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 12 ราย อัตราป่วย 2.92 ต่อประชากรพันคน (งานวัณโรค, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง) ผู้ป่วยวัณโรคมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี และมีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อวัณโรคในทุกชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษา ปี๒๕๖๖ จำนวน ๑๒ ราย ซึ่งพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากกิจกรรมคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๑ ราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และ ๑๑ ราย อยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย จากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการคัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรค
จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนาระบบบริการ การดำเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่าย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น และมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในการเฝ้าระวังโรควัณโรค มีสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรควัณโรคในชุมชนร้อยละ100 |
0.00 | |
2 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและมีความรู้ในการเฝ้าระวังวัณโรค ค้นพบผู้ป่วยรายใหม่มากกว่าร้อยละ ๑ ของกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรอง |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันแพร่เชื้อในชุมชน ในระดับพื้นที่ ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนร้อยละ ๑๐๐ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 5 ก.ย. 67 | ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังโรควัณโรค | 9200 | 3,600.00 | ✔ | 3,600.00 | |
9 ก.ย. 67 | อบรมเชิงปฎิบัติการฝึกทักษะการคัดกรองวัณโรคในชุมชนแก่แกนนำในชุมชน | 60 | 3,600.00 | ✔ | 3,600.00 | |
16 - 30 ก.ย. 67 | คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงโดยใช้แบบฟอร์มคัดกรองผู้มีอาการสงสัยวัณโรคปอด ( กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน ๓๐ คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๗๐ คน และผู้สูงอายุ/ที่สูบบุหรี่ ๓๐๐ คน) และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๖ หมู่บ้าน | 400 | 22,800.00 | ✔ | 22,800.00 | |
1 พ.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | ประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่แก่คณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันโรค หมู่บ้านละ ๑๐ คน จำนวน ๖ หมู่บ้าน (อสม.๕๔ คน ผู้นำชุมชน๖คน) | 60 | 1,800.00 | ✔ | 1,800.00 | |
รวม | 9,720 | 31,800.00 | 4 | 31,800.00 |
-แกนนำมีความรู้ความเข้าใจและแนวทางเกี่ยวกับการคัดกรองวัณโรค การเฝ้าระวัง -ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิด/สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ/สูบบุหรี่ ในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน -ชุมชนมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาและการป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2567 14:09 น.