กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลสงเปือย

1.นางสุภาวดี นามมั่น
2.นายสำราญ ศรีลา
3.นายสุกุล ก้อนคำ
4.นางวันเพ็ญ เพียรจิตร
5.นางนภา โพธิ์ทอง

ตำบลสงเปือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและความมั่นคงของประเทศที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ยาเสพติดที่แพร่ระบาดหลัก คือ ยาบ้า รองลงมาคือ กัญชา กระท่อม และไอซ์ ตามลำดับ นอกจากนี้พบการใช้ยาควบคุมหรือยาอันตรายในทางที่ผิดของกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยกลุ่มที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งในเรื่องของการเสพและการกระทำความผิดส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 24 ปี นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน อาทิ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากเด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝัง เรียนรู้เกี่ยวกับพิษภัยที่เกิดจากอบายมุขด้านสุรา บุหรี่ และยาเสพติด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนก็จะลดลง และในทางกลับกันหากเด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝัง และไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันอบายมุขต่าง ๆ จะส่งผลให้เยาวชนสร้างปัญหาให้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม
และด้วยสภาพปัญหายาเสพติดดังกล่าว ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติดจนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติดได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติดต่อต้านการใช้ยาในทางที่ผิดการค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และต่อต้านปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด อาทิ เช่น คดีอาชญากรรม คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจเป็นบุคคลในครอบครัวสุภาพสตรี คนชรา เด็กและเยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ

ชุมชนมีศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

1.00
2 เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ

ทีมปฏิบัติการเฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนสามารถเชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง

1.00
3 เพื่อรณรงค์การต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รู้ถึงโทษ มีการเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ

เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปรู้ถึงพิษภัยของสุรา ยาสูบ และยาเสพติด และให้ร่วมมือกันในชุมชนเพื่อต่อต้านอบายมุขทุกรูปแบบ

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งทีมปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งทีมปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้ง โดยมีการจัดทำเป็นคำสั่งแต่งตั้งผู้นำชุมชน และสมาชิกสภา อบต.เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 6 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทีมปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทีมอาสาสมัครเพื่อคัดกรอง และค้นหา (กลุ่มเสพ กลุ่มเสี่ยง) เพื่อจะนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2567 ถึง 16 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถค้นหาหรือคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพื่อจะนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำฐานข้อมูลของกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้สะดวกต่อการติดตาม

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2567 ถึง 21 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด สุรา ยาสูบหรือสิ่งยั่วยุต่างๆ เสริมสร้างทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการใช้เวลาว่างเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2567 ถึง 26 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงต่อสิ่งยั่วยุ และเห็นคุณค่าในตนเองเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบ จัดขบวนเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบ รอบพื้นที่หมู่บ้านในตำบลสงเปือย โดยมีขบวนป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ถึงพิษภัยของยาเสพติด สุรา และยาสูบ ขบวนแฟนซีของนักเรียนและเยาชนในหัวข้อยาเสพติดภัยร้ายทำลายชาติ และขบวนของกลุ่มประชาชนทั่วไปและ อสม.ร่วมกันแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในหมู่บ้านและร้านค้าชุมชนให้รู้ถึงพิษภัยของสุรา และยาสูบและแนะนำถึงข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับการขายสุราและยาสูบให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมนักดื่ม และนักสูบหน้าใหม่อีกช่องทางหนึ่ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2567 ถึง 26 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ
2. ชุมชนมีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ
3. เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รู้ถึงโทษ มีการเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ และมีปริมาณกลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชนลดลง


>