โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลสงเปือย |
วันที่อนุมัติ | 27 พฤษภาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นางสุภาวดี นามมั่น 2.นายสำราญ ศรีลา 3.นายสุกุล ก้อนคำ 4.นางวันเพ็ญ เพียรจิตร 5.นางนภา โพธิ์ทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสุภาวดี นามมั่น |
พื้นที่ดำเนินการ | 9 หมู่บ้านของ ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร |
ละติจูด-ลองจิจูด | 15.651718,104.247422place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2567 | 30 มิ.ย. 2567 | 20,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและความมั่นคงของประเทศที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ยาเสพติดที่แพร่ระบาดหลัก คือ ยาบ้า รองลงมาคือ กัญชา กระท่อม และไอซ์ ตามลำดับ นอกจากนี้พบการใช้ยาควบคุมหรือยาอันตรายในทางที่ผิดของกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยกลุ่มที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งในเรื่องของการเสพและการกระทำความผิดส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 24 ปี นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน อาทิ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากเด็กและเยาวชนได้รับการปลูกฝัง เรียนรู้เกี่ยวกับพิษภัยที่เกิดจากอบายมุขด้านสุรา บุหรี่ และยาเสพติด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนก็จะลดลง และในทางกลับกันหากเด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝัง และไม่ได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันอบายมุขต่าง ๆ จะส่งผลให้เยาวชนสร้างปัญหาให้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม และด้วยสภาพปัญหายาเสพติดดังกล่าว ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติดจนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติดได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันต่อต้านยาเสพติดโลก” ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติดต่อต้านการใช้ยาในทางที่ผิดการค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และต่อต้านปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด อาทิ เช่น คดีอาชญากรรม คดีลักทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจเป็นบุคคลในครอบครัวสุภาพสตรี คนชรา เด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ ชุมชนมีศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน |
1.00 | |
2 | เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ ทีมปฏิบัติการเฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนสามารถเชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง |
1.00 | |
3 | เพื่อรณรงค์การต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รู้ถึงโทษ มีการเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปรู้ถึงพิษภัยของสุรา ยาสูบ และยาเสพติด และให้ร่วมมือกันในชุมชนเพื่อต่อต้านอบายมุขทุกรูปแบบ |
1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
4 - 6 มิ.ย. 67 | จัดตั้งทีมปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
7 - 16 มิ.ย. 67 | สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
17 - 21 มิ.ย. 67 | จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
26 มิ.ย. 67 | จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต | 0 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | |
26 มิ.ย. 67 | จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด สุรา และยาสูบ | 0 | 10,000.00 | ✔ | 10,000.00 | |
รวม | 0 | 20,000.00 | 5 | 20,000.00 |
- มีการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ
- ชุมชนมีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ
- เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป รู้ถึงโทษ มีการเฝ้าระวังและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สุรา และยาสูบ และมีปริมาณกลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชนลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2567 21:05 น.