กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดู่ใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเเสริมกิจกรรมทางกายผู้สูงอายุบ้านดู่ใต้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดู่ใต้

ชมรมผูสูงอายุ

นายสมศักดิ์กันตา
นายวิชัย ทินราช
นางขจรมาทิพย์
นางสาววาริกาโพธิ์แก้ว
นางสมัยพรมรังฤทธิ์

ลานกีฬาหมู่บ้าน บ้านดู่ใต้ ม.2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

70.83

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

70.83 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ: 1. การนำเสนอวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ: - อธิบายถึงเป้าหมายหลักของโครงการ เหตุผลในการจัดทำ และความสำคัญต่อชุมชนหรือผู้เข้าร่วม 2. การชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน: - แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานของโครงการ การแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ และแผนงานหลัก 3. การกำหนดช่วงเวลาและกรอบเวลาในการดำเนินงาน: - ชี้แจงแผนงานตามกรอบเวลา กำหนดวันที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ และเวลาสิ้นสุดโครงการ 4. การชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของผู้เข้าร่วม: - อธิบายความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัคร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5. การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น: - เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจน 6. การสรุปและแจกแจงเอกสารที่เกี่ยวข้อง: - แจกจ่ายเอกสาร เช่น รายละเอียดโครงการ แผนการดำเนินงาน หรือสัญญาต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีข้อมูลที่ครบถ้วน

งบประมาณ 1. ค่าอาหาร 1 มื้อและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 100 บาท= 4000 บาท 2. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย = 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อตกลงการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมทางการด้วยการเล่นเปตอง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมทางการด้วยการเล่นเปตอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การสำรวจพื้นที่และการวางแผนการออกแบบสนามเปตอง: การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น พื้นที่ราบและกว้างเพียงพอสำหรับการแข่งขันเปตอง การปรับพื้นผิวสนามให้เรียบและจัดวางเส้นแบ่งเขตเพื่อให้สามารถเล่นได้อย่างปลอดภัยและเป็นระเบียบ

  2. การจัดหาอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่น: จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ลูกเปตองที่ได้มาตรฐาน และอุปกรณ์สนับสนุนการเล่นอื่น ๆ การเพิ่มแสงสว่างรอบสนามเพื่อให้สามารถเล่นในช่วงเวลายามเย็นหรือตอนค่ำได้ จัดเตรียมที่นั่งพักและพื้นที่ร่มให้แก่ผู้เล่นหรือผู้ที่มาชม

งบประมาณ 1.ปรับปรุงสนามเปตอง (วัสดุหินคลุก ดิน แผ่นซีเมนต์) = 8000 บาท 2.ปรับปรุงระบบไฟส่องสว่างรอบสนามเปตอง ติดตั้งแผ่นโซล่าเซลล์ จำนวน 4 จุด จุดละ 2500บาท = 10000

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจในกีฬาเปตองและกีฬาวู๊ดบอล มีความรู้ ความเข้าใจ กติกาการเล่นของกีฬาเปตองและกีฬาวู๊ดบอล และมีกิจกรรมทางการเพิ่มมากขึ้น
  2. เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับกีฬาเปตองและกีฬาวู๊ดบอลในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับกีฬาเปตองและกีฬาวู๊ดบอลในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านการเล่นเปตองอย่างสม่ำเสมอ: จัดการแข่งขันเปตองและวู๊ดบอลประจำเดือนหรือจัดกิจกรรมการเล่นเปตองเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและชาวชุมชนเข้าร่วมเล่นเปตองและวู๊ดบอลอย่างต่อเนื่อง
  2. การสร้างกลุ่มเปตองและวู๊ดบอลประจำชุมชนและจัดกิจกรรมให้ผู้สนใจเข้าร่วม เพื่อกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมความรู้และกติกาในการเล่นเปตองและวู๊ดบอล: การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกติกาในการเล่นเปตองอย่างถูกต้อง โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือโค้ชมาให้คำแนะนำ

งบประมาณ การสร้างแหล่งเรียนรู้ เช่น ป้ายข้อมูลที่อธิบายกติกาการเล่น และวิดีโอสาธิตวิธีการเล่นเปตองและวู๊ดบอล 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 50 บาท = 2500 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน คนละ 500 บาท = 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจในกีฬาเปตองและวู๊ดบอล มีความรู้ ความเข้าใจ กติกาการเล่นของกีฬาเปตองและกีฬาวู๊ดบอล และมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 4 ฝึกสาธิตการเล่นกีฬาเปตอง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกสาธิตการเล่นกีฬาเปตอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ให้ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจเล่นกีฬาเปตอง มาร่วมเล่นกีฬาเปตองร่วมกันจำนวน 3 ครั้ง โดยจัดกิจกรรม 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ1 ครั้ง โดยเลือกวันทำกิจกรรมวันใดก็ได้ในสัปดาห์นั้น มา 1 วัน ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 5 ส.ค. 2567 - 9 ส.ค.2567 สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 12 ส.ค. 2567 - 16 ส.ค. 2567 สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 19 ส.ค. 2567 - 23 ส.ค. 2567 งบประมาณ
1. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 40 บาท = 2000 บาท จำนวน 3 สัปดาห์ = 6000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและผู้ที่สนใจกีฬาเปตองมีการเล่นอย่างต่อเนื่องและมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 การติดตามและสรุปผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมทางกายด้วยการเล่นเปตอง

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและสรุปผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมทางกายด้วยการเล่นเปตอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. การติดตามทุกสัปดาห์
2. สรุปผลการเล่ีกีฬาเปตองของกลุ่มผู้สูงอายุและผุ้ที่สนใจ การติดตามผลการพัฒนา: การสังเกตการใช้พื้นที่: ตรวจสอบว่าพื้นที่สนามเปตองได้รับการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และมีการดูแลรักษาให้มีสภาพดีตลอด การเก็บข้อมูลสุขภาพและการมีส่วนร่วม: การสอบถามและประเมินผลจากผู้เข้าร่วมเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นเปตอง เช่น สุขภาพร่างกายและความพึงพอใจในการใช้พื้นที่ การปรับปรุงตามความต้องการของผู้ใช้งาน: รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ใช้สนามเปตอง เพื่อนำไปปรับปรุงพื้นที่หรือจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น

งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน คนละ 50 บาท = 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลของการเล่นกีฬาเปตองและสรุปผลการดำเนินงานการปรับสภาพแวดล้อมสนามเปตอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลของการเล่นกีฬาเปตองและสรุปผลการดำเนินงานการปรับสภาพแวดล้อมสนามเปตอง
1. ผลของการเล่นกีฬาเปตองต่อสุขภาพและกิจกรรมทางกาย
- ผู้สูงอายุและผู้สนใจกีฬาเปตอง ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการเคลื่อนไหวทางกายมากขึ้น การเล่นเปตองช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว และการประสานงานของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
- การเล่นเปตองอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต้องใช้การวางแผน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน และการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ทำให้เกิดความสนุกสนานและสร้างสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

2. การสรุปผลการปรับสภาพแวดล้อมสนามเปตอง
- การปรับปรุงสนามเปตอง ทำให้เกิดพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการเล่นกีฬา พื้นที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของผู้เล่นทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการพื้นที่ที่เรียบและปลอดภัย
- การเพิ่มพื้นที่ร่มและที่นั่งพัก ทำให้สนามเปตองกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถพักผ่อนและร่วมกิจกรรมกีฬาได้อย่างสบายมากขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาเปตองอย่างต่อเนื่อง
-การจัดให้มีเครื่องหมายบอกจุดหรือเส้นแบ่งเขต ในสนามช่วยให้ผู้เล่นทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามกติกาได้ง่ายขึ้น และยังช่วยลดปัญหาการสับสนในระหว่างการเล่นกีฬา

3. ผลกระทบต่อชุมชน
- สนามเปตองเป็นพื้นที่ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน และยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ซึ่งสามารถขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในชุมชนได้ในอนาคต
- การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีขึ้นและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน


>