กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชากรวัยทำงาน ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชากรวัยทำงาน ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

เทศบาลตำบลพะตง

เทศบาลตำบลพะตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

20.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00

จากรายงานประจำปี ๒๕๖๕ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ระบุว่ากลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยผลการสำรวจ NHES (การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย)ครั้งที่ 6 พบว่า ประชากรไทยร้อยละ 48.8 หรือเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน และไม่ทราบตัวเลขและความเสี่ยงของตนเอง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อน อาทิ โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากหัวใจมีแรงดันเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่ายจึงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก การป้องกันโรคจำเป็นต้องให้ความรู้ กระตุ้นเตือน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยระบุว่าแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ (กรรณิการ์ เงินดี, 2563) และการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้ (สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2563)รวมถึงผลการศึกษาที่ระบุว่าการป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด อีกทั้งภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่หรือการรับควันบุหรี่จากผู้อื่น การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และภาวะอ้วนซึ่งบุคคลสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยการเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง โดยการหมั่นตรวจสุขภาพ และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด (ชลธิรา กาวไธสง และรุจิรา ดวงสงค์, 2557)
ข้อมูลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ในเขตเทศบาลตำบลพะพะตง มีอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๑๙๐ ราย โรคเบาหวาน ๒๕๑ ราย และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน ๖๕ ราย (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดสงขลา) จากข้อมูลดังกล่าว ประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรค ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการทำงาน ประกอบอาชีพหารายได้มากกว่าการดูแลสุขภาพตนเอง ชีวิตรีบเร่ง มีความเครียดจากการทำงาน ประกอบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ความเครียด ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลต่อการเกิดโรค ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลพะตง จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชากรวัยทำงาน ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านโรคไม่ติดต่อเรื้องรังในกลุ่มวัยทำงาน เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

50.00 80.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

20.00 80.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

50.00 80.00
5 1.เพื่อคัดกรองความเสี่ยงและเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของประชากรกลุ่มวัยทำงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

๑. ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน ๒. มีฐานข้อมูลสุขภาวะสุขภาพของกลุ่มประชากรกลุ่มวัยทำงาน ๓. มีจุดให้บริการและประเมินภาวะสุขภาพของประชาชน

50.00 80.00
6 2. ประชากรวัยทำงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเสี่ยงไม่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

50.00 80.00
7 3.อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ลดลง

ร้อยละ ๖๐ อัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่ลดลง

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.ประชาสัมพันธ์รับสมัครประชากรกลุ่มวัยทำงานอายุ ๒๕ - ๖๐ ปีเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
๑.ประชาสัมพันธ์รับสมัครประชากรกลุ่มวัยทำงานอายุ ๒๕ - ๖๐ ปีเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ
  • ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. จัดตั้งจุดบริการสุขภาพดีวัยทำงานเทศบาลตำบลพะตง “จุดบริการสุขภาพเบื้องต้น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพโรคไม่เรื้อรังในประชากรวัยทำงาน” - ไวนิล/ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์เชิญชวนการใช้บริการ - คู่มือสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
๒. จัดตั้งจุดบริการสุขภาพดีวัยทำงานเทศบาลตำบลพะตง “จุดบริการสุขภาพเบื้องต้น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพโรคไม่เรื้อรังในประชากรวัยทำงาน” - ไวนิล/ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์เชิญชวนการใช้บริการ - คู่มือสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ  แบบสอดแขน จำนวน ๑ เครื่อง                เป็นเงิน ๖๔,๐๐๐.-บาท (อ้างอิงบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ ฉบับธันวาคม ๒๕๖๖) ๒.โต๊ะวางเครื่องวัดความดันฯ จำนวน ๑ ตัว เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท
๓.เก้าอี้สำหรับนั่งวัดความดัน จำนวน ๑ ตัว
เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท ๔.กระดาษพริ้นผลความดันโลหิต ม้วนละ ๔๕ บาท จำนวน ๒๐ ม้วน เป็นเงิน ๙๐๐ บาท ๕.ป้ายสติ๊กเกอร์โฟมบอร์ด ขนาด ๓๐ x ๔๐ซม.
x ๑ แผ่น เป็นเงิน ๔๐๐.-บาท ๖.ค่าจัดทำคู่มือสุขภาพ ๕๐ บาท x ๕๐ เล่ม เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
73800.00

กิจกรรมที่ 3 ๓. คัดกรองความเสี่ยงสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชากรกลุ่มวัยทำงาน

ชื่อกิจกรรม
๓. คัดกรองความเสี่ยงสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชากรกลุ่มวัยทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.จัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน ๑ เครื่อง เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๒.จัดซื้อแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน ๖กล่องๆละ๗๘๐บาท เป็นเงิน ๔,๖๘๐ บาท
๓.จัดซื้อเข็มเจาะปลายนิ้ว (บรรจุ ๒๐๐ชิ้น/กล่อง) จำนวน ๒ กล่องๆละ ๙๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท ๔.จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน ๑ เครื่อง เป็นเงิน ๒,๒๕๐ บาท ๕.ป้ายไวนิลโครงการขนาด ๑X๒ เมตร เมตรละ ๑๒๐ บาท เป็นเงิน ๒๔๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10770.00

กิจกรรมที่ 4 ๔. จัดอบรมให้ความรู้ และการปฏิบัติตน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรอง จำนวน ๕๐ คน

ชื่อกิจกรรม
๔. จัดอบรมให้ความรู้ และการปฏิบัติตน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรอง จำนวน ๕๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน ๑.๕ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท ๒.ค่าวิทยากรประจำฐาน จำนวน ๓ ฐานๆละ    ๑ คนๆละ ๑.5 ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท  เป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท ๓.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้อบรม ๕๐ คนละ ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาทเป็นเงิน ๑,๒๕๐.-บาท ๔.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่จัดอบรม จำนวน ๑๐ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒๕๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่ม่เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน ๕๐ คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 5 ๕.จัดกิจกรรมทางการด้วยการเต้นแอโรบิค ทุกวันพุธ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.จำนวน ๑๐ ครั้ง ตั้งแต่ ๑๐ กรกฎาคม - ๑๑กันยายน ๒๕๖๗

ชื่อกิจกรรม
๕.จัดกิจกรรมทางการด้วยการเต้นแอโรบิค ทุกวันพุธ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.จำนวน ๑๐ ครั้ง ตั้งแต่ ๑๐ กรกฎาคม - ๑๑กันยายน ๒๕๖๗
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าตอบแทนผู้นำเต้น จำนวน ๑ คน จำนวน ๑๐ ครั้งๆละ ๓๐๐ บาท เป็นเงินประมาณ ๓,๐๐๐ บาท ๒.ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๕๐ คนๆละ ๑๐ บาท จำนวน ๑๐ ครั้ง เป็นเงินประมาณ  ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๘,๐๐๐.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กรกฎาคม 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน ๕๐ คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 6 ๖. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๓ ครั้ง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด

ชื่อกิจกรรม
๖. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๓ ครั้ง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน ๕๐ คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ๗. มอบรางวัล “บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ” จำนวน ๓ รางวัล เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้กลุ่มเป้าหมายหันมาดูแลสุขภาพตนเอง

ชื่อกิจกรรม
๗. มอบรางวัล “บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ” จำนวน ๓ รางวัล เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้กลุ่มเป้าหมายหันมาดูแลสุขภาพตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน ๓ อันๆละ ๒๐๐ บาท เป็นเงินประมาณ ๖๐๐.-บาท รวมเป็นเงิน ๖๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพ จำนวน ๓ คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 8 8. สรุปและรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
8. สรุปและรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำเล่มสรุปรายงานโครงการจำนวน ๒ เล่มๆละ ๑๐๐บาท เป็นเงินประมาณ ๒๐๐.-บาท รวมเป็นเงิน ๒๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปรายงานโครงการจำนวน ๒ เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 98,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชากรกลุ่มวัยทำงาน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๒. ประชากรกลุ่มวัยทำงาน สามารถเข้าถึงบริการตรวจวัดความดันโลหิตได้สะดวก สามารถจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
๓. ประชากรกลุ่มวัยทำงาน ที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง


>