กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ชุมชนโคกพยอม

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ชุมชนโคกพยอม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

อสม.ชุมชนบ้านโคกพยอม

1.นางสาวจุรี กาเซ็ม 082-4082272
2.นายนพรุต ดำริง 061-9505829
3.นางสาวกาญจนี รักสัตย์ 084-1188981
4.นางระนอง ทองจิบ
5.นางสวาท ดำนุ้ย

ที่ทำการชุมชนบ้านโคกพยอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปชุมชนบ้านโคกพยอม (คน)

 

200.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนบ้านโคกพยอม(คน)

 

0.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนบ้านโคพยอม(คน)

 

0.00
4 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนบ้านโคกพยอม(คน)

 

0.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและเป็นภาวะอันดับต้นๆของประเทศไทยจากรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 1 แสนคนต่อปี โดยเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คิดเป็นร้อยละ 75 ของจำนวนประชากรที่เสียชีวิตทั้งหมด กลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่ เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การกินหวาน มัน เค็ม ตามใจปากมากเกินไป ทานผักผลไม้น้อย มีกิจกรรมการออกกำลังกายน้อย มีการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ มีการเกิดภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ หากอาการของโรครุนแรงมากขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะยาว ดังนั้นจากการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในขั้นแรก และการดูแลติดตามผลในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ดังนั้น อสม. ชุมชนบ้านโคกพยอมจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ในการดูแลสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการเกิดโรค ลดการเจ็บป่วย ลดอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคตข้างหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนบ้านโคกพยอมได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น(คัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)

กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย ร้อยละ 60 ได้รับการคัดกรองเบื้องต้น

200.00 120.00
2 เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน

กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 50 สามารถทำแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

40.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองกลุ่มเสี่ยง 35 ปี ขึ้นไป โดยการตั้งหน่วยให้บริการในชุมชน และออกคัดกรองรายครัวเรือน
งบประมาณ
1.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 1 เครื่องๆละ 1,950 บาทเป็นเงิน 1,950 บาท
2.จัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดพร้อมอุปกรณ์(เข็มเจาะ และ แถบอ่านค่า) จำนวน 2 เครื่องๆละ 3,450 บาทเป็นเงิน 6,900 บาท
3.เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆละ 850 บาทเป็นเงิน 1,700 บาท
4.สำลีแอลกอฮอล์บอล2 กล่องๆละ 100 บาทเป็นเงิน 200 บาท
แผนตรวจคัดกรอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรอง
2.ทราบผลถึงจำนวนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มคนที่เป็นโรค จากจำนวนทั้งหมดของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อป้องกัน และดูแลกลุ่มเสี่ยง คัดเลือกมาจำนวน 40 คน
1.ค่าตอบแทนวิทยากร (นางอัญชนาคุณักษ์ธำรงค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท
2.ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5x2 เมตรx 150 บาทเป็นเงิน 450 บาท
3.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ 70 บาทx 1มื้อเป็นเงิน 2,800 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ 30 บาทx 1 มื้อเป็นเงิน 1,200 บาท
5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารสาธิต ปากกา สมุด ค่าแผ่นพับ แบบประเมิน แบบทดสอบเป็นเงิน 1,500 บาท
6.ค่าเข้าเล่มสรุปผลโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาทเป็นเงิน 500 บาท
กำหนดการจัดอบรม
09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน /ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
09.30 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้ในการป้องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเสี่ยง
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. ทำแบบทดสอบหลังอบรม /ตอบข้อซักถาม
14.00 น. จบการอบรม
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแแปลงตามความเหมาะสมพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้มีความเสี่ยงในชุมชน และได้ทำการดูแล ติดตามผลการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,550.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเท่าทันโรค
2.อสม.ชุมชนบ้านโคกพยอมได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย และสามารถที่จะให้ความรู้กับประชาชนที่ดูแลในเขตรับผิดชอบของตนเองได้
3.สามารถป้องกันและดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
4.ลดการเกิดของโรค ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน และลดอัตราการป่วยของคนในชุมชนบ้านโคกพยอมได้


>