โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ชุมชนโคกพยอม
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ชุมชนโคกพยอม |
รหัสโครงการ | 67-L8008-02-40 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.ชุมชนบ้านโคกพยอม |
วันที่อนุมัติ | 15 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 มกราคม 2568 |
งบประมาณ | 17,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจุรี กาเซ็ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ศาลาเอนกประสงค์ชุมชน |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ย. 2567 | 31 ธ.ค. 2567 | 17,550.00 | |||
รวมงบประมาณ | 17,550.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปชุมชนบ้านโคกพยอม (คน) | 200.00 | ||
2 | จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนบ้านโคกพยอม(คน) | 22.00 | ||
3 | จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนบ้านโคพยอม(คน) | 21.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและเป็นภาวะอันดับต้นๆของประเทศไทยจากรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่า 1 แสนคนต่อปี โดยเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คิดเป็นร้อยละ 75 ของจำนวนประชากรที่เสียชีวิตทั้งหมด กลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่ เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การกินหวาน มัน เค็ม ตามใจปากมากเกินไป ทานผักผลไม้น้อย มีกิจกรรมการออกกำลังกายน้อย มีการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ มีการเกิดภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ หากอาการของโรครุนแรงมากขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะยาว ดังนั้นจากการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในขั้นแรก และการดูแลติดตามผลในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง จึงจำเป็นต้องมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ดังนั้น อสม. ชุมชนบ้านโคกพยอมจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ให้ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ในการดูแลสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการเกิดโรค ลดการเจ็บป่วย ลดอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคตข้างหน้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนบ้านโคกพยอมได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น(คัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย ร้อยละ 60 ได้รับการคัดกรองเบื้องต้น |
200.00 | 120.00 |
2 | เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 50 สามารถทำแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน |
40.00 | 20.00 |
3 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ กรณีมีผู้ป่วยรายใหม่สามารถคัดกรองและส่งต่อข้อมูลเพื่อส่งเข้ารับบริการรักษาตามระบบสิทธิรักษาพยาบาลรายบุคคล |
0.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 17,550.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ย. 67 - 31 ต.ค. 67 | การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง | 0 | 9,900.00 | - | ||
1 พ.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน | 0 | 7,650.00 | - | ||
1 - 31 ธ.ค. 67 | ส่งต่อผู้ป่วยรายใหม่ (ถ้ามี)เข้ารับการรักษาตามสิทธิรักษาพยาบาล | 0 | 0.00 | - |
1.ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเท่าทันโรค 2.อสม.ชุมชนบ้านโคกพยอมได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย และสามารถที่จะให้ความรู้กับประชาชนที่ดูแลในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ 3.สามารถป้องกันและดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 4.ลดการเกิดของโรค ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน และลดอัตราการป่วยของคนในชุมชนบ้านโคกพยอมได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2567 13:10 น.