กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกกำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลก ภายในปี พ.ศ.3578 (ค.ศ.2035) จากการ “สรุปผลการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติ ครั้งที่ 6”เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 ที่คณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและองค์กรนานาชาติรวมกัน ทบทวนแผนงานวัณโรคซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 โดยที่วัณโรคยังเป็นโรคที่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกราว 1.5 ล้านคนต่อปี ในปี 2564 องค์การอนามัยโลกประกาศให้ประเทศไทยพ้นจาก 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคดื้อยาสูงของโลก ทั้งนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งใน 30 ประเทศที่ยังมีภาวะวัณโรค และวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีสูงอยู่
สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยในปี พ.ศ.2566(ค.ศ.2022)WHO คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ จำนวน 103,000 คน(143/แสนประชากรโลก) สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ จำนวน 72,000 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 เป็นเพศชายร้อยละ 68 เพศหญิงร้อยละ 32 ในจำนวนนี้เป็นเด็กร้อยละ 1 เสียชีวิต จำนวน 11,400 คน คิดเป็นร้อยละ 15.83 (ในจำนวนนี้ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยจำนวน 1,700 คน) รักษาสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 83 วัณโรคดื้อยา MDR/RR-TB จำนวน844 คน Pre XDR-TB/XDR-TB จำนวน 49 คน วัณโรคร่วมกับเอชไอวี จำนวน 5,313 คน ในจำนวนนี้ได้รับยาต้านไวรัส จำนวน 4,795 คน (ที่มา : WHO, Global TB Report 2022) ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในประเทศไทยที่ผ่านมามีแนวโน้มอัตราการรักษาสำเร็จเพิ่มขึ้น รักษาล้มเหลว ขาดยาและโอนลดลง ส่วนอัตราเสียชีวิตยังคงสูงและเป็นปัญหาของประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่สูงอายุและมีโรคร่วม โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกลุ่มเสี่ยงที่ต้องค้นหา 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้สัมผัสร่วมบ้านหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอด 2) ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้อาศัยในสถานคุ้มครอง และพัฒนาคนพิการหรือสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือเคยต้องขังหรือควบคุมตัว 3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 4) ผู้ป่วยโรคที่ทำให้ภูมิคุมกันลดลง อาทิ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 5) ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่สูบบุหรี่หรือมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)หรือโรคเบาหวานร่วมด้วย 6)ผู้ใช้สารเสพติด ติดสุราเรื้อรัง และ 7)บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ซึ่งกรมควบคุมโรคให้บริการตรวจคัดกรองเพื่อหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง โดยบริการเอ็กซเรย์ปอดด้วยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ บริการตรวจเสมหะด้วยเทคนิคทางโมเลกุลระดับอนูชีววิทยา เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรค นำเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปสู่คนอื่นตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค โดยในงานมีการจัดให้บริการเอกซเรย์ปอดโดยรถเอกซเรย์ดิจิตอลเคลื่อนที่ บริการตรวจเสมหะ ด้วยเทคนิคทางโมเลกุล ระดับอนูชีววิทยาและอื่นๆให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงต่างๆและประชาชนผู้สนใจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลหาดใหญ่ มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและมีวัณโรคดื้อยาหลายขนาน(MDR-TB)จำนวนมาก โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ปีงบประมาณ 2564 -2566 จำนวน 771 ,726 และ 756 รายตามลำดับ และมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานปีงบประมาณ 2564 – 2566 จำนวน6, 5 และ 4 ราย สำหรับตำบลทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และ 2566 พบผู้ป่วยวัณโรคในตำบลทุ่งตำเสา จำนวน 15 ราย และ 21 ราย ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องคนหาในพื้นที่ ดังนี้ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 60 ราย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 10 ราย ผู้ป่วยเบาหวาน/ไตเรื้อรัง/รับยากดภูมิคุ้มกัน จำนวน 540 ราย ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)หรือโรคเบาหวาน 1,813 ราย
ดังนั้น การเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการลดความล่าช้าของการตรวจวินิจฉัย เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปสู่คนอื่นๆได้ เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดในชุมชนโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง ให้การดูแลรักษาอย่างดีที่สุด งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จัดทำ “โครงการค้นหาและ คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงตำบลทุ่งตำเสา” ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรควัณ

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่ได้รับการคัดกรองพบสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัย
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่ได้รับการคัดกรองพบสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยหรือรักษา
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงที่มีผลผิดปกติได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินการเข้ารับบริการตามใบส่งต่อ
0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา
  • ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้ขึ้นทะเบียนและเข้ารับการรักษา
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ประชุมวางแผนคณะทำงานควบคุมโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
๑. ประชุมวางแผนคณะทำงานควบคุมโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25บาท25คน2ครั้ง)(วางแผน/สรุปกิจกรรม) 1,250.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. กิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์ป้องกันวัณโรคปอด

ชื่อกิจกรรม
๒. กิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์ป้องกันวัณโรคปอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 2.51.5เมตร150บาท/ตร.ม. จำนวน 1ผืน
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.321.73เมตร150บาท/ตร.ม. จำนวน 1ผืน
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.960.98เมตร150บาท/ตร.ม. จำนวน 1ผืน
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 2.51.5เมตร150บาท/ตร.ม. จำนวน 1ผืน 1756
  • ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ Roll Up/ธงญี่ปุ่น ฯลฯ 10,000.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11756.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดมหกรรม “คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มเสี่ยงตำบลทุ่งตำเสาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

ชื่อกิจกรรม
3. จัดมหกรรม “คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มเสี่ยงตำบลทุ่งตำเสาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลเวทีสถานที่จัดกิจกรรม ขนาด 8.25-1.5เมตร*150บาท/ตร.ม. จำนวน 1 ผืน  1857
  • ค่าจ่างเหมาตกแต่งสถานที่  4000
  • ค่าน้ำดื่มสำหรับประชาชนผู้เข้ารับบริการ 50โหล45บาท  2250 -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการรถโมบาย 50คน25บาท*2มื้อ    2,500.-
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและทีมรถโมบาย50คน70บาท1มื้อ 3,500.-
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษทำความสะอาดอเนกประสงค์ สบู่ล้างมือ สเปรย์ แอลกอฮอล์ ถุงใส่ขยะ ฯลฯ  3,000.-
  • ค่าอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการ เรื่อง “วัณโรค”  5,000.- -ค่าทำสำเนา “แบบตรวจคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง” 250.- -ค่าจ้างเหมารถรับ –ส่ง ผู้สงสัยเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลหาดใหญ่    3,000.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25357.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม “รวมพลคนรักป๊อด”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม “รวมพลคนรักป๊อด”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำดื่มสำหรับลงพื้นที่แจ้งผลตรวจ 5บาท5คน3ทีม*3วัน        225.-
  • ค่าอาหารเสริม(ไข่)สำหรับผู้ป่วย 130บาท*30 คน  3900
  • ค่าทำสื่อประชาสัมพันธ์”วัณโรครักษาได้” 50บาท*9ป้าย    450.-
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,938.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและค้นหาวัณโรค
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัณโรคที่ได้รับการคัดกรองพบสงสัยป่วยได้รับการรักษาทันท่วงที
๒. ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา


>