กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร สัมหรับผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการพัทลุง

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลเรื่องอาหารนักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง ได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เกิน 5 หมู่ การไม่รับประทานผัก ผลไม้ การรับประทานอาหารที่มีรสจัด อาหารสำเร็จรูป การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ นักเรียนส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้าน ฉะนั้น นักเรียนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ที่สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจและไม่ปฏิบัติตน ให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหารซึ้งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ ดังนั้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาการ พัทลุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรม ด้านสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียนขึ้นเพราะผู้สัมผัสอาหารเป้นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิด การแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆไปสู่ผู้บริโภคได้และยังเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับอาหารทั้งหมดตั้งแต่ การเตรียม การปรุง-การประกอบอาหาร การทำความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหารให้ผ๔บริโภคได้รับประทาน ซึ่งถ้าผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีแล้ว ท้ายที่สุดจะส่งผลถึงนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ในการได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียน
2.ฝึกสาธิตและปฏิบัติด้านสุขาภิบาลอาหารที่ดี
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้ายๆ ละ 400 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรแบบบรรยายและปฏิบัติ จำนวน 4 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น ปากกกา กระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2567 ถึง 16 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง-ประกอบอาหารได้อย่างถูกต้อง
2.นักเรียน ครูและบุคลากรได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
3.โรงอาหารมีความสะอาดและปลอดภัย


>