กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

มหัศจรรย์ 1,000 วัน PLUS สู่ 2,500 วัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา

โรงพยาบาลสรรคบุรี และคณะ

โรงพยาบาลสรรคบุรี และคณะ

ชุมชน 1-5 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กต้องมีการดูแลแบบเป็นองค์รวมตั้งแต่ตั้งครรภ์คลอดหลังคลอดและเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี โดยสิ่งที่สำคัญคือการจัดบริการในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานเข้าถึงง่ายเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลอย่างต่อเนื่องและเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มี ศักยภาพเพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กเติบโตพัฒนาการสมไวตามแนวทางการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัย ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5ปี ทุกคนได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง
จากการประเมินผลของการมาฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี ในปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ยังมีหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ล่าช้ากว่า 12 สัปดาห์ หหญิงตั้งครรภ์บางคนยังไม่เห็นความสำคัญในการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เริ่มลดลง เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และเด็กพัฒนาการล่าช้ามากขึ้น เนื่องจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพเด็กและขาดทักษะส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็ก
โรงพยาบาลสรรคบุรี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันเพื่อการส่งเสริมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมพร้อมรับสวัสดิการการฝากครรภ์ที่ควรได้รับ ทั้งนี้ยังดูแลสุขภาพเด็กให้ได้รับการดูแลสุขภาพ การได้รับวัคซีน การเฝ้าระวังและส่งเสริมการเจริญเติบโต การคัดกรองพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการ รวมไปถึงส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์

80.00
2 เพื่องส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

80.00
3 เพื่องส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แรกเกิดถึง 6 เดือน

ร้อยละการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แรกเกิดถึง 6 เดือน

80.00
4 เพื่องส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

70.00
5 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

ร้อยละเด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

80.00
6 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยและที่มีพัฒนาล่าช้า ได้รับการส่งต่อ

ร้อยละเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยและที่มีพัฒนาล่าช้า ได้รับการส่งต่อ

70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามี เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แรกเกิดถึง 6 เดือน 2.ส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องโภชนาการโดยสนับสนุนอาหารเสริม (นม,ไข่)ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์รายใหม่ และทำทะเบียนรายชื่อรับอาหารเสริม(นม,ไข่) 3.ติดตามการฝากครรภ์ ติดตามเยี่ยมหลังคลอด และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DSPM เพื่อให้ครอบครัวมี่ส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการ 4.สรุปผลการดำเนินงาน งบประมาณ
ค่าอาหารเสริม (นม,ไข่) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 10 คนๆละ 17บาท/วัน 90 วัน     เป็นเงิน 15,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีได้รับความรู้ เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แรกเกิดถึง 6 เดือน ไดรับการติดตามการฝากครรภ์ ติดตามเยี่ยมหลังคลอด และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DSPM

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม เด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม เด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการคลินิกสุขภาพดีโรงพยาบาลสรรคบุรี 2. กิจกรรมประเมินพัฒนาการเด็กและส่งเสริมพัฒนาการ       - การประเมินพัฒนาการเด็กประถม โดยใช้เครื่องมือ DSPM        - การกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย         - การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย         - ส่งต่อ TEDA4I เมื่อพบเด็กพัฒนาการล่าช้า 3.ส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กสอนผู้ปกครองเรื่องโภชนาการการอ่านกราฟภาวะโภชนาการสนับสนุนอาหารเสริมนมไข่ในเด็กผอมและทำทะเบียนรายชื่อรับอาหารเสริม (นม,ไข่ ) 4. กิจกรรมเครือข่ายออสอมอช่างน้ำหนักและวัดส่วนสูงประเมินภาวะโภชนาการทุกสามเดือนติดตามติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 5. ทำทะเบียนประเมินภาวะโภชนาการ
6. ติดตามการได้รับวัคซีนตามช่วงวัย  ติดตามพัฒนาการ  และติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก
7. สรุปผลการดำเนินงาน งบประมาณ
ค่าอาหารเสริมเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 10 คน ๆละ 17บาท/วัน 90 วัน เป็นเงิน 15,300 บาท เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 5 เครื่องๆละ 1,500  บาท  เป็นเงิน 7,500 บาท ที่วัดส่วนสูง 5 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการเด็กและส่งเสริมพัฒนาการ เด็กอายุ 0-5ปี ได้รับส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กสอนผู้ปกครองเรื่องโภชนาการการอ่านกราฟภาวะโภชนาการสนับสนุนอาหารเสริมนมไข่ในเด็กผอมและทำทะเบียนรายชื่อรับอาหารเสริม (นม,ไข่ ) เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยและที่มีพัฒนาล่าช้า ได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการเด็กและส่งเสริมพัฒนาการ
2.เด็กอายุ 0-5ปี ได้รับส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กสอนผู้ปกครองเรื่องโภชนาการการอ่านกราฟภาวะโภชนาการสนับสนุนอาหารเสริมนมไข่ในเด็กผอมและทำทะเบียนรายชื่อรับอาหารเสริม (นม,ไข่ )
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์
4.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีได้รับความรู้ เรื่องการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แรกเกิดถึง 6 เดือน
5.หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการติดตามการฝากครรภ์ ติดตามเยี่ยมหลังคลอด และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทาง DSPM
6.เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยและที่มีพัฒนาล่าช้า ได้รับการส่งต่อ


>