กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรดพัฒนา

นายโตเมต ต่ายนิลและคณะ

หมู่ที่ 1 - 8 ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากเพราะมีผู้ป่วย ป่วยและตายจำนวนมากในแต่ละปีเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ การระบาดตลอดปีและพบมากในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบวางไข่ในแหล่งน้ำภาชนะใส่น้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น จากสถิติปี 2563 - 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลห้วยกรดพัฒนา จำนวน 73 ราย ซึ่งมีการระบาดมากที่สุดในทุกปีที่ผ่านมา และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสำรวจค่า BI CI และ HI พบว่ามีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ปัญหาคือ โรคไข้เลือดออก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกันดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ารี จึงตระหนักถึงสาเหตุของปัญหาหากไม่มีการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ถูกต้องทันที่จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพ และชีวภาพและทางเคมีในบ้าน วัดและโรงเรียน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดไข้เลือดออกก็จะลดน้อยลงด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
2. เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะในเขตตำบลห้วยกรดพัฒนา
3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,846
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออก อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและจัดทำสมุดบันทึกสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 1 – 8 ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
  • จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน วัด โรงเรียนและสถานที่ราชการโดยการ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพ ในชุมชนในทุกๆเดือนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยใช้หลักการ ๕ป ๑ข อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  • เตรียมวัสดุเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ในการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย -เตรียมสารเคมีในการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และทรายกำจัดลูกน้ำ
  • เตรียมจ้างเหมาแรงงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย
  • ควบคุมทำลายตัวแก่โดยฉีดพ่นสารเคมีสารเคมีฝอยละอองกรณีมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในพื้นที่จำนวน 3 ครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกหรือมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
  • ดำเนินงานควบคุมโรคในกรณีการพบผู้ป่วย รัศมี 100 เมตร
  • ดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคในสถานศึกษาในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน งบประมาณ จำนวน 60,000 บาท รายละเอียด ดังนี้ -กระดาษA4 80 แกรม รีมละ 130 บาท จำนวน 8 รีม เป็นเงิน 1,040.00 บาท -กระดาษการด์ปกสีขนาดA4 180 แกรม ห่อละ 120 บาท จำนวน 8 ห่อ เป็นเงิน 960.00 บาท
  • กระดาษโปสเตอร์สีบาง แผ่นละ 5 บาท จำนวน 21 แผ่น เป็นเงิน 105.00 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี 70 ลิตร ลิตรละ 30 บาทเป็นเงิน 2,1000 บาท
  • ค่าน้ำมันเบนซิน70 ลิตร ลิตรละ 40 บาทเป็นเงิน 2,8000 บาท
  • ค่าน้ำมันเครื่อง 1 ลิตรเป็นเงิน 100.00 บาท
  • ค่าจ้างในการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 8 หมู่ หมู่ละ 1,250 บาท เป็นเงิน 10,000.00 บาท
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำขนาด 25 กก. ถังละ 3,500 จำนวน 10 ถัง เป็นเงิน 35,000.00 บาท
  • ค่าสเปรย์ฉีดยุงขนาด 600 ml กระป๋องละ 133 บาท จำนวน 15 กระป๋อง เป็นเงิน 1,995.00 บาท
  • ค่าน้ำยาพ่นยุงขนาด 1 ลิตร ขวดละ 590 บาท จำนวน 10 ขวด เป็นเงิน 5,900.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร
  2. ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน Generation ที่ ๒ ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ?10)ค่าBreteau Index น้อยกว่าหรือเท่า 50  (BI < 50) และค่า Container Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (CI ? 10) ในสถานบริการ ต่างๆ เช่น โรงเรียน  วัด ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯควรมีค่า CI = 0 ร้อยละ ๑๐๐
  4. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
  5. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องทุกเดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60000.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร
2. ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน Generation ที่ ๒ ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
3. ค่าHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ?10)ค่าBreteau Index น้อยกว่าหรือเท่า 50(BI < 50) และค่า Container Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (CI ? 10) ในสถานบริการ ต่างๆ เช่น โรงเรียนวัด ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯควรมีค่า CI = 0 ร้อยละ ๑๐๐
4. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
5. มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องทุกเดือน


>