กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

วัยรุ่นรู้รัก รู้ปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยรุ่นรู้รัก รู้ปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

นายนพรัตน์ หัตถี และคณะ

นายนพรัตน์หัตถี และคณะ

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี จังหวัดชัยนาท ตำบลห้วยกรดอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาทางสังคมมากมายโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชน ปัจจุบันพบว่า เยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือ ประมาณ ๑๒ ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและขาดความรับผิดชอบตัวเอง ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้ง ความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูลูก
จากข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขประจำปี ๒๕63 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแสงสว่าง พบว่า มีอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ......................โดยตั้งครรภ์ อายุน้อยสุด....... ปี นับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและควรสร้างแนวทางมาตรการเพื่อเฝ้าระวังการเกิดปัญหาซ้ำ
ประชากรตำบลห้วยกรด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวนผักผลไม้ เป็นต้น ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างมากในทุกพื้นที่ทางด้านการเกษตร และในปี 2566
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี จังหวัดชัยนาท ได้คัดกรองสารเคมีตกค้างของเกษตรกรตำบลตำบลห้วยกรด โดยดำเนินการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของประชาชนทั้ง 9 หมู่บ้าน จำนวน 148 คน
พบระดับปกติ ร้อยละ 3.38 ระดับปลอดภัย ร้อยละ 75.68ระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 19.59 ระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 1.35 ซึ่งจากผลการตรวจพบประชาชนในพื้นที่ มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นการสุ่มสำรวจประชาชนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องตรวจค้นหาผู้ที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และการส่งเสริมความรู้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนการป้องกันการได้รับสารเคมีที่จะเข้าสู่ร่างกายด้วยช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังการใช้ และการสัมผัสสารเคมีทางเกษตรต่างๆ
จากข้อมูลดังกล่าว สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรา นวมินทราชินี จังหวัดชัยนาท จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างของเกษตรกร ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลห้วยกรด ได้รับทราบข้อมูลความเสี่ยงของตนเองจากการตรวจเลือดหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด และรับความรู้ในการป้องกันสารเคมีตกค้างในชีวิตประจำวันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อค้นหาเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสุขภาพและป้องกันการใช้สารเคมีแก่เกษตรกร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน สถานีอนามัย และอื่น ๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ สำรวจข้อมูลเกษตรกร จัดทำทะเบียนเกษตรกรและประเมินความเสี่ยงเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเบื้องต้น ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัดหมายการตรวจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 8 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด และจัดเตรียมเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากสมุนไพร ดำเนินการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งที่ 1 และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายตามตารางการให้ความรู้ โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้
    5.1 ตอบคำถามการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในส่วนของการทำการเกษตร และการใช้ในชีวิตประจำวัน
    5.2 ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดร่วมกับทีมงาน อสม.แต่ละหมู่บ้าน
- เจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย
- ตรวจหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือก
- อ่านและแปรผลการตรวจเลือด 
    5.3 ให้ความรู้แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายในวันตรวจเลือดในหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้
- อันตรายของสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
- วิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร
- วิธีการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชีวิตประจำวัน
- การใช้สมุนไพรในการกำจัดพิษในร่างกายเบื้องต้น งบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวน 300 คนเป็นเงิน 3,796 บาท รายละเอียด ดังนี้ - กระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 3 ชุดๆละ 100 ตัวอย่าง  ราคาชุดละ 642 บาท เป็นเงิน    1,926  บาท - เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 3 กล่องละๆ 100 ชิ้น ราคากล่องละ 285 บาท  เป็นเงิน    855  บาท - หลอดคาปิลลารี่ (Capillary tube) เก็บตัวอย่างเลือด จำนวน 3 กล่องๆละ 100 ชิ้น  ราคากล่องละ 85 บาท  เป็นเงิน    255  บาท - ถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำนวน 3 กล่องๆละ 120 บาท  เป็นเงิน    360  บาท - แอลกอฮอล์ 70% ขนาด 450 มล. จำนวน  2 ขวดๆละ 50 บาท    เป็นเงิน    100  บาท - สำลีก้อนเล็ก 450 G. จำนวน 2 ถุงๆละ 150 บาท        เป็นเงิน    300  บาท - แผ่นสไลด์สำหรับวางแผ่นกระดาษทดสอบ จำนวน 1 กล่องๆละ 50 บาท                                     เป็นเงิน     50  บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 300 คนๆละ 25 บาท  เป็นเงิน    7,500  บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท        เป็นเงิน    1,200  บาท 4. ค่าจัดทำเอกสารความรู้การปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการจัดการสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากสมุนไพรด้วยตนเอง จำนวน 300 แผ่นๆละ 5 บาท  เป็นเงิน    1,500  บาท 5. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.20 x 2.40 เมตร 1 ป้ายๆ ละ 450 บาท  เป็นเงิน       450 บาท         กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการปฏิบัติตัวในการใช้สมุนไพรล้างพิษตกค้างในกระแสเลือด โดยการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งที่ 2 (กลุ่มมีความเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย) โดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์การตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด จำนวน 300 คน  เป็นเงิน 2,464 บาท รายละเอียด ดังนี้     - กระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 ชุดๆละ 100 ตัวอย่าง   ราคาชุดละ 642 บาท                    เป็นเงิน    1,284  บาท     - เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 2 กล่องละๆ 100 ชิ้น ราคากล่องละ 285 บาท          เป็นเงิน       570 บาท     - หลอดคาปิลลารี่ (Capillary tube) เก็บตัวอย่างเลือด จำนวน 2 กล่องละ100 ชิ้น  ราคากล่องละ 85 บาท                    เป็นเงิน       170 บาท     - ถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง จำนวน 2 กล่องๆละ 120 บาท  เป็นเงิน       240 บาท     - แอลกอฮอล์ 70% ขนาด 450 มล. จำนวน  1 ขวดๆละ 50 บาท    เป็นเงิน      50 บาท     - สำลีก้อนเล็ก 450 G. จำนวน 1 ถุงๆละ 150 บาท        เป็นเงิน       150 บาท รวมทั้งสองกิจกรรมเป็นเงินทั้งสิ้น         16,910    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และนำมาวางแผนในการแก้ไขปัญหา
  2. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักในเรื่องสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
  3. ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
  4. ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรล้างสารพิษตกค้างในกระแสเลือด และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16910.00

กิจกรรมที่ 3 สรุป

ชื่อกิจกรรม
สรุป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-รายงานผลการคัดกรองครั้งที่ 1 ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ แจกเอกสารความรู้การปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการจัดการสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากสมุนไพรด้วยตนเอง พร้อมนัดหมายตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งที่ 2 ในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจอยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย
- ติดตามผลการปฏิบัติตัวในการใช้สมุนไพรล้างพิษตกค้างในกระแสเลือด โดยการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดครั้งที่ 2 (กลุ่มมีความเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย) โดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน - สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลการคัดกรองให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงสถานการณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และนำมาวางแผนในการแก้ไขปัญหา
  2. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักในเรื่องสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
  3. ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
  4. ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรล้างสารพิษตกค้างในกระแสเลือด และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่และนำมาวางแผนในการแก้ไขปัญหา
2. ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนักในเรื่องสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
3. ประชาชนสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
4. ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรล้างสารพิษตกค้างในกระแสเลือด และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง


>