กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโพงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัย อสม.ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโพงาม

ชมรมอสม.รพ.สต.โพงาม

นางโชติรสสาหร่าย ประธาน อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพงาม และคณะ

พื้นที่ หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,12,13ตำบลโพงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้นจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้

 

80.00

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็น
ต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพงาม จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย อสม.ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด และตลาดนัด ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล อาหาร ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

ประชาชนในชุมชน ได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนัก แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด และตลาดนัด ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหาร ที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบการ ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่เป็นอันตรายในชุมชน

0.00
3 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย ในชุมชน

อสม.มีความรู้และศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย จำนวน 8 หมู่ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แนวทางการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
แนวทางการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครือข่ายอสม. ทั้ง 8 หมู่บ้าน ประชุมหารือกับ เจ้าหน้าที่  เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 5 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แนวทางการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจจัดทำทะเบียนร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
สำรวจจัดทำทะเบียนร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม. สำรวจจัดทำทะเบียนร้านค้า แผงลอย ตลาดนัด  ในเขตรพ.สต พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนร้านค้า แผงลอย ตลาดนัด  ในเขตรพ.สต พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัย จำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง/ปี งบประมาณ 1. ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2X2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 500 บาท 2. เงินชดเชยค่าน้ำมันของอสม.ในการออกตรวจร้านชำ แผงลอย ตลาดนัด ร้านอาหาร จำนวน 40 คนๆละ 50 บาท/ครั้ง จำนวนคนละ 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท 3. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 40 คนๆละ50บาท จำนวน 1 วัน      เป็นเงิน 2,000 บาท 4. ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 2,000 บาท
5. วัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม  จำนวน 40 ชุดๆละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
6. ค่าตอบแทนวิทยาอบรม จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน    900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้และศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16278.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจร้านชำ ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร และ ตลาดนัดชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านชำ ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร และ ตลาดนัดชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตรวจร้านชำ ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร และ ตลาดนัดชุมชน ดังนี้ 1.ตรวจแนะนำ ร้านชำ โดยตรวจผลิตภัณฑ์ อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ จำนวน 2 ครั้ง/ปี 2.ตรวจแนะนำ ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร จำนวน  2 ครั้ง/ปี
3.ตรวจแนะนำ แผงลอย/ร้านจำหน่ายอาหารสด ผักสด เพื่อตรวจสารปนเปื้อน จำนวน 2 ครั้ง/ปี
4.ตรวจแนะนำ ตลาดนัดที่จำหน่ายอาหารสด ผักสด เพื่อตรวจสารปนเปื้อน จำนวน 2 ครั้ง/ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการ ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่เป็นอันตรายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,278.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชน ได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
2. ผู้ประกอบการ ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่เป็นอันตรายในชุมชน
3. อสม.มีความรู้และศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและอาหารปลอดภัยในชุมชน


>