กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลห้วยกรด

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี

นางพรทิพย์เจียวัฒนะตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และคณะ

ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก ข้อมูลจากสหพันเบาหวานโลก (IDF) ประมาณการว่า ในปี 2564 มีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 537 ล้านคน ในประเทศไทย โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 8.9 คิดเป็นผู้ป่วยประมาณ 8.4 ล้านตำบลห้วยกรดมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 566 คน มีผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 39.05 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมเกิน 7% และค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 60 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคประสาทตาเสื่อม และแผลเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา และอาจนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯต.ห้วยกรด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2567 ขึ้น เพื่อเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต และ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อม สามารถปรับพฤติกรรมให้การทำงานของไตดีขึ้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3bขึ้นไป ได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมในเลือดสูง สามารถปรับพฤติกรรม ให้มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี จัดทำทะเบียนแยกกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตโดยแยกจากระดับค่าผลการทำงานของไต (eGFR )  โดยคัดเลือกผู้ป่วยระดับ 3 ขึ้นไป มาเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ คือ
ระดับ 3 a เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ระดับ 3 b ขึ้นไป ส่งพบแพทย์ทุกรายและเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบทะเบียนแยกกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตโดยแยกจากระดับค่าผลการทำงานของไต (eGFR )

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมปรับเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ภายใต้แนวคิด“ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตพิชิต โรคเรื้อรัง”6ฐานกิจกรรม ประกอบด้วย ฐานที่ 1 เรียนรู้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ฐานที่ 2 อาหารเฉพาะโรค ฐานที่ 3 โรคแทรกซ้อน ฐานที่ 4 อารมณ์ ฐานที่ 5 การออกกำลังกาย ฐานที่ 6 ความรู้เรื่องการรับประทานยา งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะแทรกซ้อนเรื่องไต และผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 30 คน ๆ ละ 130 บาท /วัน จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,900.-บาท 2. ค่าชุดนิทรรศการชุดละ 1,200 บาท จำนวน 3 ชุดเป็นเงิน 3,600.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3bขึ้นไป ได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเจาะเลือด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเจาะเลือดระดับค่าผลการทำงานของไตและระดับน้ำตาลสะสม หลังอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน ประเมินผลเพื่อแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นดีขึ้น คงที่ แย่ลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3a       ได้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการติดตามผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มเพื่อหาบุคคลต้นแบบในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสม
งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   จำนวน 30 คน ๆ ละ 130 บาท /วัน จำนวน 1 วัน    เป็นเงิน   3,900.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มเพื่อหาบุคคลต้นแบบในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3bขึ้นไป ได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3a ได้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการติดตามผล
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์
5. ผู้รับการอบรมมีผลเลือดค่าการทำงานของไตและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอยู่ในระดับที่ดีขึ้น


>