กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญ ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก ข้อมูลจากสหพันเบาหวานโลก (IDF) ประมาณการว่า ในปี 2564 มีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 537 ล้านคน ในประเทศไทย โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 8.9 คิดเป็นผู้ป่วยประมาณ 8.4 ล้านตำบลห้วยกรดมีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 566 คน มีผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 39.05 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมเกิน 7% และค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 60 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคประสาทตาเสื่อม และแผลเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา และอาจนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิตสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯต.ห้วยกรด จึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2567 ขึ้น เพื่อเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต และ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อม สามารถปรับพฤติกรรมให้การทำงานของไตดีขึ้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3bขึ้นไป ได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมในเลือดสูง สามารถปรับพฤติกรรม ให้มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,400.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 พ.ย. 67 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 จัดอบรม 0 7,500.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 ติดตามเจาะเลือด 0 0.00 -
1 มิ.ย. 67 - 31 ก.ค. 67 จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 3,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3bขึ้นไป ได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต (ระดับการกรองของไตอยู่ในระดับ3a ได้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการติดตามผล 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงได้รับความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและได้รับการส่งต่อพบแพทย์
  4. ผู้รับการอบรมมีผลเลือดค่าการทำงานของไตและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2567 15:21 น.