กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อชีวีคนยามูมีความสุข ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อชีวีคนยามูมีความสุข ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลยามู

1.นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
2.นางสีตีปาตีเม๊าะ เบ็ญดารา

ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 - 5ตำบลยามู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

5.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

10.00
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

7.00

หากเราสังเกตุกันให้ดีจะพบว่าในคนสุขภาพดี ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ในขณะที่คนที่มีจิตใจไม่ปกติ อยู่ในอารมณ์เศร้า หดหู่ ก็จะมีสุขภาพกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงเช่นกัน นั่นเป็นเพราะทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของเรามีความเชื่อมโยงกัน เหมือนเช่นที่ผลงานวิจัยของ นพ.มาร์ติน พรินซ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ King’s College London และทีมงาน ชี้ให้เห็นว่า “ความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้เกิดโรค อาการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้” และยังระบุอีกว่า องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่าประมาณ 14% ของการเกิดโรคต่างๆ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความผิดปกติทางจิตเวชและระบบประสาท ซึ่งการวิจัยนี้พบว่า ความผิดปกติทางจิตมีผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่าความเจ็บป่วยทางจิตไม่ได้แยกจากความเจ็บป่วยทางกายโดยสิ้นเชิง แต่มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอย่างมากระหว่างความผิดปกติทางจิตกับโรคต่าง ๆ โดยความผิดปกติทางจิตเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ และมีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งจากอุบัติเหตุ และไม่ใช่อุบัติเหตุ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความเจ็บปวดทางร่างกายนั้นซับซ้อนและมีหลายแง่มุม การศึกษาพบว่าปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ล้วนมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและทำให้รุนแรงขึ้น เช่น คนที่สุขภาพจิตที่ไม่ดีจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ และพบว่าร่างกายของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ยังมีภูมิต้านทานลดลง ส่งผลต่อการเยียวยาตัวเองของร่างกายต่อโรคบางอย่าง เช่น โรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และวัณโรค ทำให้จำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้งที่มาจากโรคเองและจากการฆ่าตัวตาย เพิ่มมากขึ้นในทางกลับกันความเจ็บปวดเรื้อรังยังอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านลบทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นกลไกหนึ่งที่จิตใจสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายได้ คือ การตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย เพราะเมื่อประสบกับความเครียด ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่าคอร์ติซอล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเพิ่มความไวต่อความเจ็บปวดของร่างกาย นอกจากนี้ความเครียดเรื้อรังยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อาการทางกายแย่ลงไปอีกส่วนอีกกลไกหนึ่งที่จิตใจสามารถส่งผลต่อความเจ็บปวดทางร่างกายได้ก็คือ การรับรู้ของสัญญาณความเจ็บปวดของสมอง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประมวลผลสัญญาณความเจ็บปวดของสมองได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงอารมณ์ ความสนใจ และประสบการณ์ในอดีต ดังนั้นอารมณ์และประสบการณ์ด้านลบสามารถเพิ่มความไวต่อความเจ็บปวดในขณะที่อารมณ์และประสบการณ์ด้านบวกสามารถลดความไวต่อความเจ็บปวดลงได้โดยผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี จะส่งผลดีต่อร่างกายเช่นกัน จากตัวอย่างการวิจัยพบว่า เมื่อแม่คนหนึ่งได้รับการรักษาอาการซึมเศร้าและมีอาการที่ดีขึ้น สามารถช่วยป้องกันการให้กำเนิดทารกที่มีร่างกายแคระแกร็นได้ถึง 20% และการรักษาโรคซึมเศร้าก็สามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้ถึง 15%นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าการรักษาโรคทางจิตใจไม่ได้แค่ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคต่างๆ ให้ดีขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามูจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อชีวีคนยามูมีความสุข ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 - 5 ตำบลยามู ให้มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ที่มาจากความเครียด การดำเนินชีวิต และโรคซึมเศร้า อันจักส่งผลช่วยให้สุขภาพกายและใจแข็งแรงสมบูรณ์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดและปัญหาต่าง ๆ

 

30.00 20.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสุขภาพจิตที่ดี

 

20.00 15.00
3 3.เพื่อลดความเครียดอันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

 

15.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงาน เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงาน เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ชี้แจงโครงการ และวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ

  2. กำหนดแนวทางการดำเนินงาน วางแผน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้กับเจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบงานเข้าใจวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ

  2. เจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบงานรู้บทบาทหน้าที่ขั้นตอนการดำเนินโครงการ และหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ อสม. และคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ อสม. และคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้แก่ อสม.ในการคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต
  2. อสม. ดำเนินการคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต ด้วยแบบประเมินความเครียด (ST- ๕) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.ได้รับความรู้และวิธีการคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต

2.อสม.ได้คัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ฝึกอบรมให้ความรู้ โดยวิทยากรด้านสาธารณสุขจาก PCU ตำบลยามู
  • บรรยายให้ความรู้ “การสำรวจสุขภาพจิตตนเอง”

    • บรรยายให้ความรู้ “สุขภาพจิตที่ดี และองค์ประกอบของสุขภาพจิต”

    • บรรยายให้ความรู้ “ลักษณะ/อาการของคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดี”

    • บรรยายให้ความรู้ “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต”

    • บรรยายให้ความรู้ “โรคทางจิตเวชที่เกิดจากความเครียด”

    • บรรยายให้ความรู้ “การส่งเสริมสุขภาพจิต และการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต”

    • บรรยายให้ความรู้ “การจัดการความเครียด และเทคนิคการผ่อนคลายตนเอง/การปรับเปลี่ยนความคิด”

  • ประเด็นเพิ่มเติม

รายละเอียดค่าใช้จ่าย แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้

  • หมุ่ที่ 2 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 9,850.- บาท

  • หมุ่ที่ 3 บ้านป่าหลวง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 15,350.- บาท

  • หมุ่ที่ 4 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 15,350.- บาท

  • หมุ่ที่ 5 บ้านดินแดง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 9,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 20,850.- บาท

หมายเหตุ: สามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสุขภาพจิตเข้มแข็ง สามารถจัดการความเครียดและปัญหาต่างๆ ได้

  2. ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต และสามารถพัฒนาสุขภาพจิตของตนให้เข้มแข็งได้

  3. ผู้เข้าฝึกอบรมมีความเครียดอันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลดลงหรือไม่มีเลย

  4. ผู้เข้าฝึกอบรมมีสุขภาพกายและใจที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61400.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลหลังการฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลหลังการฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ติดตามผล โดยการตรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งบันทึกประวัติ เพื่อทำฐานข้อมูลหลังการฝึกอบรม

  2. รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ติดตามผลและทราบถึงสถานการณ์ทางสุขภาพกายและจิตโดยการตรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งบันทึกประวัติ เพื่อทำฐานข้อมูลหลังการฝึกอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสุขภาพจิตเข้มแข็ง สามารถจัดการความเครียดและปัญหาต่างๆ ได้
2. ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต และสามารถพัฒนาสุขภาพจิตของตนให้เข้มแข็งได้
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเครียดอันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการชีวิตประจำวันลดลงหรือไม่มีเลย


>