กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู รหัส กปท. L3047

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อชีวีคนยามูมีความสุข ประจำปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลยามู
กลุ่มคน
1.นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
2.นางสีตีปาตีเม๊าะ เบ็ญดารา
3.
หลักการและเหตุผล

หากเราสังเกตุกันให้ดีจะพบว่าในคนสุขภาพดี ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ในขณะที่คนที่มีจิตใจไม่ปกติ อยู่ในอารมณ์เศร้า หดหู่ ก็จะมีสุขภาพกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงเช่นกัน นั่นเป็นเพราะทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของเรามีความเชื่อมโยงกัน เหมือนเช่นที่ผลงานวิจัยของ นพ.มาร์ติน พรินซ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ King’s College London และทีมงาน ชี้ให้เห็นว่า “ความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้เกิดโรค อาการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้” และยังระบุอีกว่า องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่าประมาณ 14% ของการเกิดโรคต่างๆ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความผิดปกติทางจิตเวชและระบบประสาท ซึ่งการวิจัยนี้พบว่า ความผิดปกติทางจิตมีผลกระทบมากกว่า นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่าความเจ็บป่วยทางจิตไม่ได้แยกจากความเจ็บป่วยทางกายโดยสิ้นเชิง แต่มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอย่างมากระหว่างความผิดปกติทางจิตกับโรคต่าง ๆ โดยความผิดปกติทางจิตเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ และมีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งจากอุบัติเหตุ และไม่ใช่อุบัติเหตุ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความเจ็บปวดทางร่างกายนั้นซับซ้อนและมีหลายแง่มุม การศึกษาพบว่าปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ล้วนมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและทำให้รุนแรงขึ้น เช่น คนที่สุขภาพจิตที่ไม่ดีจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ และพบว่าร่างกายของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ยังมีภูมิต้านทานลดลง ส่งผลต่อการเยียวยาตัวเองของร่างกายต่อโรคบางอย่าง เช่น โรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และวัณโรค ทำให้จำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิต ทั้งที่มาจากโรคเองและจากการฆ่าตัวตาย เพิ่มมากขึ้นในทางกลับกันความเจ็บปวดเรื้อรังยังอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านลบทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นกลไกหนึ่งที่จิตใจสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายได้ คือ การตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย เพราะเมื่อประสบกับความเครียด ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่าคอร์ติซอล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเพิ่มความไวต่อความเจ็บปวดของร่างกาย นอกจากนี้ความเครียดเรื้อรังยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อาการทางกายแย่ลงไปอีกส่วนอีกกลไกหนึ่งที่จิตใจสามารถส่งผลต่อความเจ็บปวดทางร่างกายได้ก็คือ การรับรู้ของสัญญาณความเจ็บปวดของสมอง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประมวลผลสัญญาณความเจ็บปวดของสมองได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงอารมณ์ ความสนใจ และประสบการณ์ในอดีต ดังนั้นอารมณ์และประสบการณ์ด้านลบสามารถเพิ่มความไวต่อความเจ็บปวดในขณะที่อารมณ์และประสบการณ์ด้านบวกสามารถลดความไวต่อความเจ็บปวดลงได้โดยผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี จะส่งผลดีต่อร่างกายเช่นกัน จากตัวอย่างการวิจัยพบว่า เมื่อแม่คนหนึ่งได้รับการรักษาอาการซึมเศร้าและมีอาการที่ดีขึ้น สามารถช่วยป้องกันการให้กำเนิดทารกที่มีร่างกายแคระแกร็นได้ถึง 20% และการรักษาโรคซึมเศร้าก็สามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้ถึง 15%นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าการรักษาโรคทางจิตใจไม่ได้แค่ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคต่างๆ ให้ดีขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามูจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี เพื่อชีวีคนยามูมีความสุข ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 2 - 5 ตำบลยามู ให้มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ที่มาจากความเครียด การดำเนินชีวิต และโรคซึมเศร้า อันจักส่งผลช่วยให้สุขภาพกายและใจแข็งแรงสมบูรณ์ต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดและปัญหาต่าง ๆ
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 20.00
  • 2. 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสุขภาพจิตที่ดี
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 15.00
  • 3. 3.เพื่อลดความเครียดอันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา 15.00 เป้าหมาย 10.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมทีมงาน เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ชี้แจงโครงการ และวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ

    2. กำหนดแนวทางการดำเนินงาน วางแผน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้กับเจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบงาน

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. ให้ความรู้ อสม. และคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ให้ความรู้แก่ อสม.ในการคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต
    2. อสม. ดำเนินการคัดกรองผู้ประสบปัญหาทางสุขภาพจิต ด้วยแบบประเมินความเครียด (ST- ๕) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. ฝึกอบรมให้ความรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ฝึกอบรมให้ความรู้ โดยวิทยากรด้านสาธารณสุขจาก PCU ตำบลยามู
    • บรรยายให้ความรู้ “การสำรวจสุขภาพจิตตนเอง”

      • บรรยายให้ความรู้ “สุขภาพจิตที่ดี และองค์ประกอบของสุขภาพจิต”

      • บรรยายให้ความรู้ “ลักษณะ/อาการของคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดี”

      • บรรยายให้ความรู้ “ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต”

      • บรรยายให้ความรู้ “โรคทางจิตเวชที่เกิดจากความเครียด”

      • บรรยายให้ความรู้ “การส่งเสริมสุขภาพจิต และการป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต”

      • บรรยายให้ความรู้ “การจัดการความเครียด และเทคนิคการผ่อนคลายตนเอง/การปรับเปลี่ยนความคิด”

    • ประเด็นเพิ่มเติม

    รายละเอียดค่าใช้จ่าย แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้

    • หมุ่ที่ 2 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
    1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

    3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

    รวมเป็นเงิน 9,850.- บาท

    • หมุ่ที่ 3 บ้านป่าหลวง
    1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

    3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

    รวมเป็นเงิน 15,350.- บาท

    • หมุ่ที่ 4 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
    1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

    3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

    รวมเป็นเงิน 15,350.- บาท

    • หมุ่ที่ 5 บ้านดินแดง
    1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท

    3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 9,000 บาท

    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

    รวมเป็นเงิน 20,850.- บาท

    หมายเหตุ: สามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ทุกรายการ

    งบประมาณ 61,400.00 บาท
  • 4. ติดตามผลหลังการฝึกอบรม
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ติดตามผล โดยการตรวจสุขภาพร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งบันทึกประวัติ เพื่อทำฐานข้อมูลหลังการฝึกอบรม

    2. รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่ 2 - 5ตำบลยามู

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 61,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสุขภาพจิตเข้มแข็ง สามารถจัดการความเครียดและปัญหาต่างๆ ได้
  2. ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต และสามารถพัฒนาสุขภาพจิตของตนให้เข้มแข็งได้
  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเครียดอันเกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการชีวิตประจำวันลดลงหรือไม่มีเลย
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู รหัส กปท. L3047

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู รหัส กปท. L3047

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 61,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................