กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลยามู

1.นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
2.นางสาวนูรไอนี อีดิง

ณ อาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่2- 5 ตำบลยามู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

24.00

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบเพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด หัวใจ เป็นต้น ในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในแต่ละปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง โดยเฉพาะในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงทียิ่งคัดกรองมากก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง จากนั้นนำมาจัดเป็นกลุ่มดี กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยซึ่งในกลุ่มป่วยต้องดำเนินการให้การรักษา มีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม โดยบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) แนวโน้มอัตราป่วยรายใหม่ DM และ HT จังหวัดปัตตานี โดยในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 23,278 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่มีการควบคุมที่ดี จำนวน 4,721 คน คิดเป็นร้อยละ 20.28 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 56,838 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่มีการควบคุมที่ดี จำนวน 21,792 คน คิดเป็นร้อยละ 38.34 ของผู้ป่วยทั้งหมด (ตำบลยามู มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 306 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 783 คน) และในปี 2567 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 24,248 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่มีการควบคุมที่ดี จำนวน 4,741 คน คิดเป็นร้อยละ 19.55 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวน 57,836 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่มีการควบคุมที่ดี จำนวน 24,910 คน คิดเป็นร้อยละ 43.07 ของผู้ป่วยทั้งหมด (ตำบลยามู มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 316 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 792 คน)

จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการควบคุมที่ดีมีอัตราเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีการควบคุมที่ดีกลับมีอัตราลดลง จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะนิ่งนอนใจไม่ได้ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กองทุนสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลยามู ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งการอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรังเพื่อสร้างสุขภาวะอนามัยที่ดีอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลยามู จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตำบลยามู ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างทีมงาน อสม. และเครือข่ายในส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ ในการดำเนินงานตรวจคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูงให้ได้มาตรฐาน พร้อมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

 

0.00 0.00
2 2.เพื่ออบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนการได้ดูแลสุขภาพอนามัยผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 3.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
4 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ประชุมหารือร่วมกันระหว่าง อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม. ในการจัดทำโครงการ

2.แบ่งงานให้แต่หน่วยงานรับผิดชอบ

3.เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม.มีความเข้าใจในการจัดทำโครงการนี้
    2.สามารถแบ่งงานให้แต่หน่วยงานรับผิดชอบ

3.มีความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. อสม.ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิต เบื้องต้น

  2. แยกกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยง

  3. กำกับดูแลผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิต เบื้องต้น โดย อสม.
  2. สามารถแยกกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ฝึกอบรมให้ความรู้ โดยวิทยากรด้านสาธารณสุขจาก PCU ตำบลยามู
  • บรรยายให้ความรู้ “ทำความรู้จักโรคเบาหวาน สาเหตุ อาการ และ 10 สัญญาณอันตรายของโรคเบาหวาน”

  • บรรยายให้ความรู้ “ผู้ที่มีความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน”

  • บรรยายให้ความรู้ “อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน”

  • บรรยายให้ความรู้ “โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน”

  • บรรยายให้ความรู้ “การรักษา และข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน”

    • บรรยายให้ความรู้ “ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง ลักษณะอาการ และสาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง”
  • บรรยายให้ความรู้ “การป้องกัน การรักษา และโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง”

  • บรรยายให้ความรู้ “การวัดควาดันเลือดและการอ่านผล และความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง”

    • ประเด็นเพิ่มเติม

รายละเอียดค่าใช้จ่าย แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้

  • หมุ่ที่ 2 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 9,250.- บาท

  • หมุ่ที่ 3 บ้านป่าหลวง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 14,750.- บาท

  • หมุ่ที่ 4 บ้านภูมีน้ำพุ่ง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 6,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 14,750.- บาท

  • หมุ่ที่ 5 บ้านดินแดง
  1. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 ชุด ๆ ละ 60 บาท1 มื้อเป็นเงิน 9,000 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

รวมเป็นเงิน 20,250.- บาท

หมายเหตุ: สามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

  2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนได้รับการดูแลสุขภาพอนามัยจากความเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดี และสามารถปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

  4. อัตราการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่มีจำนวนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
59000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลหลังการฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลหลังการฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. กำกับ ติดตามผล และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

  2. กำกับ ติดตามการรักษา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มป่วย

  3. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดี
  2. กลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษา และมีพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดี
  3. จำนวนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนลดลง
  4. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีการควบคุมที่ดี มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้
2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนได้รับการดูแลสุขภาพอนามัยจากความเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดี และสามารถปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงลดลง
4 อัตราการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่มีจำนวนลดลง


>