กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบำบัดยาเสพติดอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านโฮ๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

หมู่ที่ 5 บ้านโฮ๊ะ ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศทั้งในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน รวมทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน การติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติ และมีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษาโครงสร้างและสัมพันธภาพของครอบครัว การเลี้ยงดู ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งปัญหาอาชญากรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้น เช่น คดีข่มขืน ฆ่า ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น ผู้ก่อเหตุในหลายคดีเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะในฐานะเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ หรือผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติดเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพของผู้เสพติดและความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข การดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโดยมีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สร้างความรู้ความเข้าใจและรับรู้ ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ทางการแพทย์ปัจจุบันให้ถือว่าการเสพติดยาคือการเจ็บป่วย เป็นโรคสมองติดยาที่ต้องได้รับการรักษาและเป็นภัยต่อสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศ การดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ผู้เสพยาที่ผ่านการบำบัดขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ จึงกลับไปใช้ยาเสพติด ซ้ำอีก รวมถึงการบำบัดต้องครอบคลุมถึงครอบครัวผู้เสพติด เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร มุ่งหวังช่วยให้ ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข สร้างชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนช่วยซึ่งกันและกัน การบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วมนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืน การดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้านหรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล ให้เป็นไปตามหลักการสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน มีกระบวนการตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง ฟื้นฟู และลดอันตรายจากยาเสพติด อีกทั้งสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ จากครอบครัวร่วมกับชุมชน โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมแบบบูรณาการเพื่อคืนคนดีกลับสู่สังคม การป้องกันยาเสพติดไม่ให้มีผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ ปลุกประชาชนให้ตื่นตัวและร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติด ลดความรุนแรงจากปัญหาผู้ที่มีอาการจิตเวชจากยาเสพติด ลดจำนวนผู้เสพยาเสพติดด้วยการบำบัดรักษาและต่อยอดการแก้ไขปัญหาผู้ผ่านการบำบัดอย่างครบวงจร ปราบปรามหรือทำลายโครงสร้างเครือข่ายกลุ่มนักค้ายาเสพติด และดำเนินการทางมาตรการทางทรัพย์สินด้วยการตัดวงจรทางการเงินและการริบทรัพย์สิน รวมถึงบริหารจัดการอย่างบูรณาการของทุกภาคส่วนร่วมกัน การแก้ปัญหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดและผู้ใช้ยาเสพติด โดยกระบวนการนำผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ผ่านคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ นำเข้าการบำบัดรักษาตามระดับความรุนแรงของการใช้ยาเสพติด และมีการติดตามดูแล ช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ จากการบูรณาการทำงานระหว่างชุมชนบ้านโฮ๊ะ อสม. รพ.สต.บ้านหินผุด สถานีตำรวจภูธรทุ่งตำเสา ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการชุมชนบำบัดยาเสพติดอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาใด้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การดำเนินการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบำบัด (CBTx) ร่วมกับภาคีเครือข่ายและดำเนินการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction) สถานการณ์ ผู้รับการบำบัดยาเสพติดตำบลทุ่งตำเสามีจำนวน 11 ราย ที่เข้าสู่ระบบการคัดกรองและรายงานตัวกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์จำนวน 2 ราย ชุมชนบ้านโฮ๊ะ มีประชากรทั้งหมด 1,258 คน ชาย 633 คน หญิง 625 จำนวน 452 ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการดำเนินการคัดกรองร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสมัครเข้ารับการบำบัดแบบชุมชนบำบัด (CBTx) มีการติดตามเฝ้าระวังโดยภาคีเครือข่ายในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เห็นถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดในชุมชน การป้องกัน การดูแล การรักษา การฟื้นฟู การบำบัดผู้เสพติดโดยการมีส่วนร่วมชองชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] หรือเรียกว่าชุมชนบำบัด (CBTx) มุ่งหวังการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ของผู้ติดยาเสพติดตามแนวทางการช่วยเหลือบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และการบำบัดรักษา การช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดโดยชุมชน จึงได้ทำ “โครงการชุมชนบำบัดยาเสพติดอย่างยั่งยืน บ้านโฮ๊ะ” ขึ้น เพื่อสร้างชุมชุมเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนแบบบูรณาการการจัดการปัญหายาเสพติดโดยชุมชนบำบัด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อคัดกรอง ค้นหา ผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน สร้างชุมชนยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

-  ร้อยละ 100 ของจำนวนครัวเรือนหมู่ที่ 5 มีการคัดกรอง ค้นหาผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดยาเสพติด

0.00
2 ข้อที่ ๒ ผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ฟื้นฟู หรือส่งต่อเข้าระบบการรักษา มีการติดตามผลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

-  ร้อยละ ๕๐ ของผู้ได้รับการคัดกรอง เข้าสู่กระบวนการบำบัด รักษา และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

0.00
3 ข้อที่ ๓ ส่งเสริมชุมชนและภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนบำบัดยาเสพติดอย่างยั่งยืน
  • ภาคีเครือข่ายที่ร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 452
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับคระกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
๑. ประชุมชี้แจงแนวทาง และแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับคระกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. อบรมให้ความรู้ เรื่อง พิษภัยจากยาเสพติด ทีมวิทยากรจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา

ชื่อกิจกรรม
๒. อบรมให้ความรู้ เรื่อง พิษภัยจากยาเสพติด ทีมวิทยากรจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มละ 2 คน ๖๐๐ บาท3ชั่วโมง 2 คน เป็นเงิน 3,6๐๐.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕บาท40 คน เป็นเงิน 1,๐๐๐.-บาท -  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒๒.๔*๑๕๐บาท จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๔๓๒.-บาท -  ค่าสมุด ปากกา 40ชุด * 30 บาท เป็นเงิน 1,2๐๐.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม สันทนาการ เป็นเงิน 4,๐๐๐.-บาท
    รวมเป็นเงิน 10,232.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10232.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรม “คัดกรอง ค้นหาผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ” ลงพื้นที่รวมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน 3.๑ จัดทำทะเบียนผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน 3.๒ ลงพื้นที่คัดกรองร่วมภาคีเครือข่ายและส่งผู้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัด รักษ

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรม “คัดกรอง ค้นหาผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ” ลงพื้นที่รวมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน 3.๑ จัดทำทะเบียนผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชน 3.๒ ลงพื้นที่คัดกรองร่วมภาคีเครือข่ายและส่งผู้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการบำบัด รักษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ชุดตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด เมตแอมแฟสตามีน จำนวน 500 ชุด (กล่องละ 25 ชุด ราคากล่องละ 450 บาท) เป็นเงิน 9,000.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4 ครั้ง* 25 บาท* 40 คน = 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท 2 ครั้งจำนวน 40 คน  = 4,000 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 2,486.- บาท รวมเป็นเงิน 19,486.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19486.00

กิจกรรมที่ 4 ๔. จัดกิจกรรม “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ๔.๑ กิจกรรมกลุ่มบำบัด ๔.๒ กิจกรรมครอบครัวบำบัด ๔.๓ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน

ชื่อกิจกรรม
๔. จัดกิจกรรม “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ๔.๑ กิจกรรมกลุ่มบำบัด ๔.๒ กิจกรรมครอบครัวบำบัด ๔.๓ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน๒๕บาท3 ครั้ง เป็นเงิน 3,0๐๐.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 2 คน คนละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมจิตอาสาฯ ไม้กวาด อุปกรณ์ทำความสะอาด 3,000 บาท

รวม 9,6๐๐.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรมถอดบทเรียน ชุมชนบำบัดยาเสพติด แกนนำชุมชน ตัวแทนภาคีเครือข่าย คณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรมถอดบทเรียน ชุมชนบำบัดยาเสพติด แกนนำชุมชน ตัวแทนภาคีเครือข่าย คณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม  4 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท -  ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒๒.๔๑๕๐บาท จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๔๓๒.-บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 8,482 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8482.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนเข้มแข็งมีกระบวนการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
2. ผู้เสพ ผู้ใช้ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนได้รับการคัดกรอง นำเข้าสู่กระบวนการรักษา ฟื้นฟู ดูแล ช่วยเหลือจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหมู่บ้าน ชุมชน อสม. ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ท้องที่ ท้องถิ่น ในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน
4. ชุมชนเข้มแข็งมีระบบการเฝ้าระวังและการติดตามการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน


>