กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวี

1. นายเจะอุเส็นโต๊ะสา
2. นายอนันต์จันทบุรี
3. นางกาญจนาเลเด็น
4. นางมะลิวัลย์หลำหลี
5. นางอนงค์มันทะติ

หมู่ที่ 2 จำนวน 194 ครัวเรือนหมู่ที่ 3 จำนวน 407 ครัวเรือนหมู่ที่ 5 จำนวน 198 ครัวเรือนหมู่ที่ 7 จำนวน 202 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 จำนวน 220 ครัวเรือนหมู่ที่ 9 จำนวน 131 ครัวเรือนวัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่งมัสยิด จำนวน 3 แห่งโรงเรียน จำนวน 5 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา และได้สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวีตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วย 175 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 275.96ต่อแสนประชากรไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตและหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวีตำบลนาทวีอำเภอนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย 21 ราย
การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักเกิดจากการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม (การกำจัดขยะไม่ถูกวิธี)ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวีเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อนำโดยแมลง และเป็นการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง พร้อมทั้งการค้นหาโรคโดยการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี เพิ่มมากขึ้น

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้านเรือน และในชุมชน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย HI CI ที่บ้านเรือน และชุมชนลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย คือ สถานศึกษา /สถานบริการสาธารณสุขค่า HI CI = 0 ,บ้านเรือน ชุมชน HI < 10 ,CI < 5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 102
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 การจัดกิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANNING DAY ในหมู่บ้านสถานศึกษา ศาสนสถาน ชุมชน(สถานที่สาธารณะ) และ SMALL CLEANNING DAY ตามสถานการณ์การเกิดโรค 1.2 การติดตามสำรวจค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้าน และชุมชนโดย อสม.ร่วมกับเจ้าบ้าน ทุก 7วัน ต่อเนื่อง พร้อมสรุปผลค่า HI CI ให้ รพ.สต.ทราบเพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์และเตรียมวางแผนเฝ้าระวังป้องกันได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที 1.3 จัดทีม อสม. 3 ทีมๆละ 9 คน ออกสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ (ประเมินไขว้) ระหว่างชุมชน ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 เดือน (มิ.ย. – ธ.ค.2567 )ภายในบริเวณมัสยิดและซุ่มสำรวจบ้านจำนวน 5 หลังคาเรือน

ค่าใช้จ่าย 1. ทรายอะเบท แบบบรรจุซอง 2 ถังๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 2. ถุงขยะพลาสติก ขนาด 30X40 นิ้ว 5 กก.ๆ ละ 90 บาท X 6 หมู่ เป็นเงิน 2,700 บาท 3. ไม้กวาดไม้ไผ่ ด้ามละ 40 บาท X 8 ด้าม X 6 หมู่  เป็นเงิน 1,920 บาท 4. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์ไข้เลือดออก ขนาด 1.2 X 2.4 ม. ป้ายละ 430 บาท X 10 ป้าย  เป็นเงิน  4,300 บาท ( ประกอบด้วย 6 หมู่ 3 มัสยิด 1 สถานบริการ ) 5. เหมาจ่ายน้ำดื่มในการรณรงค์ 600 บาท/ครั้ง x 6 หมู่ เป็นเงิน 3,600 บาท

รวมเป็นเงิน 19,520 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19520.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ดำเนินการตามมาตรการ 3-3-1อย่างเข้มข้น  ต่อเนื่อง จนครบ 28 วัน(ยึดหลัก”รวดเร็ว เข้มข้น และต่อเนื่อง”)โดย - ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี จนท.รพ.สต.ประสาน อสม.ดูแลพื้นที่บ้านที่พบผู้ป่วย เพื่อลงสอบสวนโรคพร้อมสำรวจค่า Hi Ci จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง พร้อมฉีดพ่นสเปรย์เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ที่บ้านผู้ป่วย โดยพ่นต่อเนื่องอย่างน้อย3วันติดต่อกัน และการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ HI CIพร้อมกำจัดทำลายที่บ้านผู้ป่วยรวมถึงบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วยทุกวันที่ 0,7,1 4และ 28 - ภายใน 1วันหลังจากได้รับแจ้งจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี ทีม SRRT เข้าดำเนินการพ่นหมอกควันที่บ้านผู้ป่วย และบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วย โดยพ่น 3ครั้ง ทุก 7วัน ติดตามเฝ้าระวังการระบาด ค้นหาบุคคลสงสัยติดเชื้อ หรือ ผู้ป่วยเชิงรุก ผ่านช่องทางต่างๆ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น ช่วยให้ควบคุมการระบาดและรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

ค่าใช้จ่าย 1. สเปรย์ฉีดยุง ขนาด 600 มล. x 42 กระป๋อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน  5,040  บาท ( 2 กระป๋อง/ บ้านที่พบผู้ป่วย/ครั้ง ) 2. โลชั่นทากันยุง 120 บาท x 14 แพ็ค เป็นเงิน 1,680 บาท

          รวมเป็นเงิน  6,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566
2.ประชาชนได้รับความรู้และทักษะการป้องกันโรคไข้เลือดออกและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>