กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิ
รหัสโครงการ 67-L7892-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวี
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 26,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะอุเส็น โต๊ะสา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 2 , 3 , 5 , 7 , 8 และ 9 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 102 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา และได้สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวีตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วย 175 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 275.96ต่อแสนประชากรไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตและหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวีตำบลนาทวีอำเภอนาทวี มีจำนวนผู้ป่วย 21 ราย การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ธันวาคม ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักเกิดจากการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม (การกำจัดขยะไม่ถูกวิธี)ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สมเด็จฯ นาทวีเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน หน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคติดต่อนำโดยแมลง และเป็นการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อนำโดยแมลง พร้อมทั้งการค้นหาโรคโดยการคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และคัดแยกขยะได้ถูกวิธี เพิ่มมากขึ้น

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้านเรือน และในชุมชน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย HI CI ที่บ้านเรือน และชุมชนลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย คือ สถานศึกษา /สถานบริการสาธารณสุขค่า HI CI = 0 ,บ้านเรือน ชุมชน HI < 10 ,CI < 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,240.00 0 0.00
1 ส.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง 0 19,520.00 -
1 ส.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย 0 6,720.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2566 2.ประชาชนได้รับความรู้และทักษะการป้องกันโรคไข้เลือดออกและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2567 00:00 น.