กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยทำงาน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตะแพน

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตะแพน

บ่อหินฟาร์มสเตย์ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนทุกระดับ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่าง ๆซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ขาดสัมพันธภาพในสังคมและเบื่อหน่ายในชีวิต สุขภาวะเสื่อมโทรมลง มีโรคทางกายเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจทั้งสิ้น และกำลังกลายเป็นปัญหาทางสังคม องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) พบว่าคนไทยมีความสุขอันดับที่ 42 ของโลก มีคะแนน 8.008 คะแนน ลดลงจากปีที่ผ่านมาจากอันดับที่ 46 และอันดับของไทยลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 หากคนไทยมีความสุขสูงขึ้น จะมีผลต่อสุขภาพทางกาย ประชาชนจะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดีขึ้น อัตราการป่วยจากโรคเรื้อรังอาจลดลง ประสิทธิภาพการทำงานจะสูงขึ้น สังคมน่าอยู่ มีความยิ้มแย้มและเป็นมิตรกัน
งานบริหารงานสาธารณสุข สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตะแพน เห็นความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิต ของประชาชนทั่วไปตำบลตะแพน เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สุขภาพจิตและกายใจแข็งแรง เสริมสร้างพลังชีวิต สร้างกำลังใจ ให้แก่ประชาชนทั้วไปตำบลตะแพน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตำบลตะแพนได้รับการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

ประชาชนทั่วไปได้รับการคัดกรองปัญหาทางด้านความเครียดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

35.00 35.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตำบลตะแพนมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการจัดการด้านความเครียดด้วยตนเอง

ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการจัดการด้านความเครียดด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

35.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/09/2024

กำหนดเสร็จ 17/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมนันทนาการเครียดได้-คลายเป็น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนันทนาการเครียดได้-คลายเป็น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆละ เป็นเงิน 430 บาท  2.ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 9 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท 3.ค่าเช่าเหมารถทัวร์ จำนวน 2 วัน 1 คืน เป็นเงิน 24,000 บาท 4.ค่าอาหาร จำนวน 3 มื้อๆละ 150 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 18,000 บาท 5.ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม จำนวน 3 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 40 คน เป็นงิน 4,200 บาท 6.ค่าที่พัก 1 คืน จำนวน 40 คน ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2567 ถึง 17 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการจัดการความเครียดด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
64030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 64,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
๒. เพื่อให้ประชาชนทั่่วไปได้มีเวลาพบปะพูดคุยกันในกลุ่มและได้มีเวลาสังสรรค์กัน
๓. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้แลกเปลี่ยนแนวคิด ปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน


>