กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตลิ่งชัน

1. นายเจะอาเจน บินหมัด ประธาน
2. นางพรรณีเจะหมะ กรรมการ
3. นางรอกิเย๊าะมะเด กรรมการ
4. นางนับเส๊าะ ด่าหมิ กรรมการ
5. นางเจะหม๊ะหลำแซ่อิ่ม กรรมการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน หมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

70.00
2 ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้

 

70.00
3 ร้อยละของการสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตลิ่งชัน

 

70.00

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตาย และความพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลง และก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตของผู้คนต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีการออกกำลังกายลดลง และสัดส่วนของอาหารที่รับประทานเปลี่ยนแปลง ทำให้เป็นโรคตามมา นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่เป็นโรคโดยไม่ได้รับการคัดกรองโรค และไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคมาก่อน ยังมีจำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาของการคัดกรองที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการได้รับการคัดกรอง และการเฝ้าระวังโรค การได้รับคำแนะนำในการป้องกันโรค รวมถึงปัญหาในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา ซึ่งเป็นปัญหาด้านการควบคุมโรค การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค และการลดอัตราการตาย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โดยนายแพทย์วิชัย เทียนถาวร (2556) ได้ประยุกต์ กระบวนการสร้างสุขภาพสู่งานสาธารณสุขมูลฐานนำมาสู่การพัฒนาการเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โดยใช้ “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” มาเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังทุกเดือน ในประชากรกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิด

-2-

โรค และภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังมีนโยบายจัดกิจกรรม 3อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และกิจกรรม 2ส. คือ สุรา และบุหรี่ เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดี และลดอุบัติการณ์การเกิดโรค ในปีงบ 2567 มีประชาชนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ตลิ่งชัน จำนวน 3,612 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวนทั้งหมด 3,518 คน คิดเป็นร้อยละ 97.40 พบประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 354 คน คิดเป็นร้อยละ 10.06 ป่วย เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,445 คน คิดเป็นร้อยละ 12.04 เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 1,189 คน คิดเป็นร้อยละ 77.41 ป่วย เป็นโรคเบาหวาน 701 คน คิดเป็นร้อยละ 5.84 และกลุ่มป่วยทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำนวน 674 คน คิดเป็นร้อยละ 5.61 เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรคในกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ด้วย 3อ. 2ส. ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ และการลดการสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่
ด้วยความตระหนักถึงปัญหา ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตลิ่งชัน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการป้องกัน และลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

70.00 80.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้

ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้

70.00 80.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตลิ่งชัน

ร้อยละของการสร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตลิ่งชัน

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ และชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ และชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแนวทางการในการดำเนินงานโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2567

2.เสนอโครงการ และแผนงานเพื่อของบประมาณในการดำเนินงาน จนท.รพ.สต. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชันเพื่อกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 8 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 สิงหาคม 2567 ถึง 7 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้รับรู้แผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. ได้สรุป และแยกประเภทกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ

2.รับสมัครกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2567 จำนวน 100 คน ลงข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ

3.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแ ละอสม.จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย โดยยึดหลัก 3อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส. ได้แก่ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา โดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน จำนวน 1 วัน โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลจะนะ

งบประมาณ

  • ค่าจัดซื้อเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 100 ชิ้นๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าจัดซื้อ stip สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 ชิ้นๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน อบรม 2 รุ่นๆ ละ จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน คณะทำงาน จำนวน 8 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะทำงาน จำนวน 8 คน 4 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.5 เมตร (ตารางเมตรละ 150 บาท)เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าป้ายให้ความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน ขนาด 1.2x2.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าป้ายให้ความรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ขนาด 1.2x2.5 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
  • จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 100 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร ปากกา สมุด จำนวน 100 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2567 ถึง 19 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้ สร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตลิ่งชัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามกลุ่มเป้าหมาย หลังอบรม 1 ครั้ง ในเดือนที่ 1 กลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน
  2. จนท.รพ.สต.และคณะกรรมการชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน จำนวน 8 คน
  3. ประเมินผล และสรุปโครงการจัดทำรายงาน

งบประมาณ

  • ค่าจัดซื้อเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว (ในระยะติดตามกลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 100 ชิ้นๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าจัดซื้อ stip (ในระยะติดตามกลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 100 ชิ้นๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าเล่มรายงานผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่มๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,250.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
- ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้
- สร้างเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของกองทุนสุขภาพตำบลตลิ่งชัน


>