กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

โรงเรียนบ้านนาม่วง

โรงเรียนบ้านนาม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) คือสารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจมาจากกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นคือผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมีผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้ สารเคมีที่พบปนเปื้อนได้บ่อย ได้แก่ สารบอแรกซ์ พบมากในอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ฯลฯ เมื่อใส่สารนี้ไปแล้วจะทำให้อาการมีสีสันที่สวยงาม รสชาติดี และเก็บไว้ได้นาน สารนี้เป็นสารที่ก่อให้เกิด สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) พบได้ในอาหารประเภท แหนม หมูยอ และผักผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง มะกอกดอง มะดันดอง ขิงดอง เป็นต้น หากกินอาหารที่มีสารกันราปนเปื้อนพิษของมันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เป็นผื่นคันตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้ สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ส่วนใหญ่จะใส่อยู่ในอาหารพวก ดอกไม้จีน เห็ดหูหนูขาว เยื่อไผ่ หน่อไม้ ถั่วงอก แป้ง หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ หากสารชนิดนี้สะสมในร่างกายมากๆ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หรือหมดสติได้ สารฟอร์มาลิน เป็นสารอันตรายที่ถูกนำมาใช้กับอาหารสดไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือกระทั่งผัก เพื่อให้มีความสดได้นาน หากถูกปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก จะทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ปวดหัว ปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการเหงื่อออก ร่วมด้วย และ สารตกค้างพวกยาฆ่าแมลง ที่มักตกค้างมากับผักหรือผลไม้สด ซึ่งสารเหล่านี้มีพิษต่อระบบประสาท ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย โดยอาการจะรุนแรงมากหากได้รับสารโดยตรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่สดสะอาด ปลอดภัยจากสารเคมี เชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

แบบสอบถามเรื่องอาหารปลอดภัย

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารมีคุณค่าทางอาหาร

น้ำหนักส่วนสูง

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพและพลานามัยที่แข็งแรง

น้ำหนักส่วนสูง

0.00
4 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน นักเรียนและครู และโรงเรียนกับชุมชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

แบบสอบถามเรื่องอาหารปลอดภัย/แบบสังเกตพฤติกรรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21031.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปลูกผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10338.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
684.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทดสอบสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทดสอบสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3947.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง สัปดาห์ละ 2 ครั้งนักเรียนที่ไม่เคยรับประทานผัก ก็เริ่มรับประทานเพราะทราบถึงประโยชน์ในของผักที่รับประทานเข้าไป พร้อมทั้งเลือกรับประทานผักที่ปลอดภัยไร้สารเคมี จึงทำให้นักเรียนสุขภาพดี ระบบขับถ่ายดี
-นักเรียน คณะครู และผู้ปกครองได้รับข่าวสารต่างๆที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นที่บอร์ด ห้องไลน์กลุ่ม เพจโรงเรียน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เลือกซื้อผักปลอดสารพิษ หรือ ใช้ด่างทับทิมแช่ผัก ก่อนนำไปปรุงเป็นอาหารเพื่อรับประทาน
-ทางโรงเรียนได้ให้ความรู้ถึงโทษของน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ แก่ผู้ปกครองและนักเรียน ให้เล็งเห็นถึงพิษภัย ที่เกิดจากการดื่มน้ำอัดลม และทางโรงเรียน ไม่มีน้ำอัดลมจำหน่ายภายในโรงเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยการไม่ดื่มน้ำอัดลมให้แก่นักเรียน
- นักเรียน และผู้ปกครองมีความมั่นใจในอาหารกลางวัน ที่นักเรียนรับประทาน ว่าปราศจากเชื้อโรค และสารพิษต่างๆ
- ได้แกนนำนักเรียน เยาวชน ผู้ปกครอง ที่ตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร และวัตถุดิบในการประกอบอาหารต่างๆ โดย เลือกปลูกข้าวปลูกผักทานเอง รวมถึงสามารถขยายผลต่อให้กับผู้อื่นได้ นอกจากนั้น ผักสวนครัว และข้าวในนาที่นักเรียน ครู และผู้ปกครองช่วยกันปลูก จะเป็นข้าวและผักปลอดสารพิษ ซึ่งเมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยว นักเรียนและครู เยาวชน และผู้ปกครองจะช่วยกัน และส่งต่อ แจกจ่าย และนำไปให้แม่ครัวนำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันได้ กิจกรรมนี้ ทำให้ครู นักเรียน เยาวชน และผู้ปกครอง และเมื่อผักถูกนำไปปรุงเป็นอาหารแล้ว นักเรียนมีความภาคภูมิใจกับผลงานของตัวเอง และรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผักปลอดสารพิษมั่นใจ ส่งผลให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีในที่สุด


>