กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ ในการปฏิบัติงาน อสม. ตำบลทุ่งลาน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

ชมรม อสม.ตำบลทุ่งลาน

นาง สุจรรยากาญจนมิ่งประธานชมรม
นางนภสรสุขสวัสดิ์
นางถนอมทองทิพย์
นายจรัญแก้วมรกฎ
นางปราณีมณีประพันธ์
นางขวัญจิตพรหมสวัสดิ์
นายวิศิษฏ์ แก้วสุวรรณ์
นางสาวเกษฎาภรณ์อ่อนเจริญ
นางปานทิพย์บุญกำเหนิด

ตำบลทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปีงบประมาณ 2564 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” ได้แก่ หมอคนที่ ๑ อสม.หมอประจำบ้าน หมอคนที่ ๒ หมอสาธารณสุข และหมอคนที่ ๓ หมอเวชศาสตร์ ครอบครัว เป็นของขวัญปีใหม่ประจำปี ๒๕๖๔ สำหรับประชาชน เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว ๓ คน ได้รับการดูแล ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่าง
ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ อสม. และระบบกลไก องค์กร อสม. ในการเสริมสร้าง
การดูแลสุขภาพคนในชุมชนอย่างเข้มแข็ง ให้สามารถทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และ
ภาคีเครือข่าย หนุนเสริมการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือสำหรับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้านที่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ อสม. สู่การเป็น สมาร์ท
อสม.และ อสม. หมอประจำบ้านขึ้นมา เป็นการสนับสนุนนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน เพื่อ
พัฒนาและยกระดับ อสม. ให้เป็น อสม. หมอประจำบ้านเพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และพัฒนาระบบเฝ้า ระวัง ป้องกันโรคและภัยคุกคามด้านสุขภาพ อันจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และยั่งยืนต่อไป
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติ งานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมี เป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การ ปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงานและมีทักษะในการปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ที่ได้รับการพัฒนาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองผู้ป่วย และสามารถ ดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งลานและในเขตหลังคาเรือนรับผิดชอบ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถนำความรู้ไปดำเนินงานดูแลสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1- 9 97

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. จำนวน 2 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. จำนวน 2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ระยะก่อนดำเนินงาน 1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนและการพัฒนา ศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขในปีที่ผ่านมาเพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพ
2.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
3.ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการ
5.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานและอาสาสมัคร สาธารณสุขทุกหมู่บ้าน
6.เตรียมเอกสารวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินงาน
1.จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. จำนวน 2 วัน
ระยะหลังดำเนินงาน 1.ประเมินผลการอบรมการดำเนินงานโครงการ 2.สรุปผล วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน


ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนและการพัฒนา ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในปีที่ผ่านมาเพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพ ไม่ใช้งบประมาณ สิงหาคม 2567 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ไม่ใช้งบประมาณ สิงหาคม 2567 3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน เพื่อจัดทำโครงการฯ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าประชุม จำนวน 103 คน x 1 มื้อ x มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน3,090.00 บาทกันยายน 2567 4. เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการไม่ใช้งบประมาณ กันยายน 2567 5. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 97 คน x 3 มื้อ x มื้อละ 80 บาท เป็นเงิน23,280 บาท - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการอบรม จำนวน6 คน x 3 มื้อ x มื้อละ 80 บาทเป็นเงิน 1,440.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 97 คน x 6 มื้อ x มื้อละ 30บาท เป็นเงิน17,460 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการอบรม จำนวน 6 คน x 6 มื้อ x มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน1,080.00 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก จำนวน3คนๆ ละ3 ชั่วโมงๆ ละ 600.00 บาทเป็นเงิน 5,400.00 บาท - ค่าคู่มืออบรม จำนวน 97 เล่ม ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 7,275 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบประเมิน สุขภาพ จำนวน 97 ชุด ชุดละ 12 บาท เป็นเงิน 1,164 บาท - ค่าจัดทำเกียรติบัตรผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 97 แผ่น แผ่นละ 15 บาท เป็นเงิน 1,455 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน เป็นเงิน 3,500 บาท (ปากกาเมจิก จำนวน 12 เล่ม/กระดาษชาต จำนวน 20 แผ่น/ ดินสอสี จำนวน 30 กล่อง/กระดาษ A 4 จำนวน 1 ริม /ดินสอไม้ จำนวน 2 กล่อง
-เกียรติบัตรผู้เข้ารับการอบรม 97 แผ่น แผ่นละ 12 บาท เป็นเงิน 1164 บาท
กันยายน 2567

(ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้)

รวม63,218.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการ บริหาร วิชาการ และการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการของ ชุมชนตนเอง เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างมีรูปธรรม รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถนำประสบการณ์ ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63218.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,218.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>