กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ ในการปฏิบัติงาน อสม. ตำบลทุ่งลาน ปี 2567
รหัสโครงการ L5169-67-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 70,253.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุจรรยา กาญจนมิ่ง ประธานชมรม อสม.ตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 70,253.00
รวมงบประมาณ 70,253.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปีงบประมาณ 2564 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” ได้แก่ หมอคนที่ ๑ อสม.หมอประจำบ้าน หมอคนที่ ๒ หมอสาธารณสุข และหมอคนที่ ๓ หมอเวชศาสตร์ ครอบครัว เป็นของขวัญปีใหม่ประจำปี ๒๕๖๔ สำหรับประชาชน เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว ๓ คน ได้รับการดูแล ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่าง
ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ อสม. และระบบกลไก องค์กร อสม. ในการเสริมสร้างการดูแลสุขภาพคนในชุมชนอย่างเข้มแข็ง ให้สามารถทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และภาคีเครือข่าย หนุนเสริมการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือสำหรับแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ อสม. สู่การเป็น สมาร์ทอสม.และ อสม. หมอประจำบ้านขึ้นมา เป็นการสนับสนุนนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน เพื่อพัฒนาและยกระดับ อสม. ให้เป็น อสม. หมอประจำบ้านเพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และพัฒนาระบบเฝ้า ระวัง ป้องกันโรคและภัยคุกคามด้านสุขภาพ อันจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และยั่งยืนต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติ งานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมี เป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การ ปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงานและมีทักษะในการปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ที่ได้รับการพัฒนาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองผู้ป่วย และสามารถ ดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งลานและในเขตหลังคาเรือนรับผิดชอบ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถนำความรู้ไปดำเนินงานดูแลสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 103 70,253.00 0 0.00 70,253.00
9 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมประชุมชี้แจงและอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. 103 70,253.00 - -
รวมทั้งสิ้น 103 70,253.00 0 0.00 70,253.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการ บริหาร วิชาการ และการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการของ ชุมชนตนเอง เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างมีรูปธรรม รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถนำประสบการณ์ ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2567 15:27 น.