กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัยสุขภาพดี ด้วยโยคะและสมาธิบำบัด SKT

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบาละ

นายอนันต์สุวรรณราชประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลบาละ

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบาละอำเภอกาบังจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่สามารถเกิดความวิตกกังวลและความเครียดได้ง่าย เพราะมีการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่มีการเสื่อมสภาพ และมี สุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ที่มีสาเหตุมาจากการสูญเสียคนรัก สูญเสียการสมาคม ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง สูญเสียสภาวะทางเศรษฐกิจและ มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทสถานภาพทางสังคม เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุนี้มีผลทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับ ภาวะความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ 5 ประการ คือ รู้สึกโดดเดี่ยว, ขาดความมั่นใจ, กลัวตาย, หมดหวัง, เศร้าและหดหู่ ส่งผลให้เกิด ความเครียดได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง และหากผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้นก็อาจจะมีแนวโน้มในการเกิดความเครียดที่เพิ่มขึ้นด้วย ถือว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถ เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผล กระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม
ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะหาแนวทางช่วยส่งเสริม ให้ผู้สูงมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการใช้ชีวิต เห็นคุณค่าในตัวเอง และมีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ เป็นต้น การจัดกิจกรรมบำบัดความเครียดในผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความสุขสงบและ ผ่อนคลาย จะเน้น การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ด้วยการเล่นโยคะ ที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียด และบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ ซึ่งเมื่อได้ทำการฝึกเป็นประจำจะช่วยทำให้เกิดสมาธิและปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ส่วนสมาธิบำบัด SKT เป็นการฝึกการควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส และการเคลื่อนไหว เป็นการนำหลักประสาทวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับการปฏิบัติสมาธิ จะทำให้ร่างกายได้รับสาร เมลาโทนิน (Melatonin) สารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน รักษาความสมดุลให้กับร่างกาย ช่วยในการกำจัดของเสียภายในร่างกายและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเยียวยารักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มภูมิต้านทานโรคเรื้อรัง ลดอาการท้องผูก แก้ปัญหาไหลเวียนโลหิต ภูมิแพ้ ช่วยให้นอนหลับดี หลับลึก รักษาอาการนอนไม่หลับได้ และยังช่วยในการรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการทำสมาธิบำบัด SKT มีวิธีการทำที่ง่าย และให้ผลดีในหลายด้าน SKT คือตัวย่อที่มาจากชื่อของ รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิคนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจและทักษะการรออกกำลังกายด้วยโยคะที่ถูกต้อง
2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นเหมาะสมตามวัย
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายอารมณ์ เข้าร่วมสังคมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้จักการทำสมาธิบำบัด SKT และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ตามหัวข้อกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ตามหัวข้อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน    6,000 บาท
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน    5,000 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน    3,000 บาท
    • ค่าไวนิล ขนาด กว้าง 1.2 เมตร ยาว 2.4 เมตร        เป็นเงิน       720 บาท 
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์                      เป็นเงิน    5,000 บาท
      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,720  (หนึ่งหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
      หมายเหตุ  ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังด้วยโยคะได้ถูกต้อง
2 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
3 ผู้สูงอายุสามารถผ่อนคลายด้วยการมาพบปะเพื่อนๆ 4 ผู้สูงอายุสามารถทำสมาธิบำบัด SKT ได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังด้วยโยคะได้ถูกต้อง
2 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
3 ผู้สูงอายุสามารถผ่อนคลายด้วยการมาพบปะเพื่อนๆ
4 ผู้สูงอายุสามารถทำสมาธิบำบัด SKT ได้ถูกต้อง


>