โครงการสูงวัยสุขภาพดี ด้วยโยคะและสมาธิบำบัด SKT
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัยสุขภาพดี ด้วยโยคะและสมาธิบำบัด SKT |
รหัสโครงการ | 67-L4117-03-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบาละ |
วันที่อนุมัติ | 9 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 19,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอนันต์ สุวรรณราช |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่สามารถเกิดความวิตกกังวลและความเครียดได้ง่าย เพราะมีการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่มีการเสื่อมสภาพ และมี สุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ที่มีสาเหตุมาจากการสูญเสียคนรัก สูญเสียการสมาคม ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง สูญเสียสภาวะทางเศรษฐกิจและ มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทสถานภาพทางสังคม เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุนี้มีผลทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับ ภาวะความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ 5 ประการ คือ รู้สึกโดดเดี่ยว, ขาดความมั่นใจ, กลัวตาย, หมดหวัง, เศร้าและหดหู่ ส่งผลให้เกิด ความเครียดได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง และหากผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้นก็อาจจะมีแนวโน้มในการเกิดความเครียดที่เพิ่มขึ้นด้วย ถือว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถ เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม จึงส่งผล กระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะหาแนวทางช่วยส่งเสริม ให้ผู้สูงมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการใช้ชีวิต เห็นคุณค่าในตัวเอง และมีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ เป็นต้น การจัดกิจกรรมบำบัดความเครียดในผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความสุขสงบและ ผ่อนคลาย จะเน้น การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ด้วยการเล่นโยคะ ที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียด และบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ ซึ่งเมื่อได้ทำการฝึกเป็นประจำจะช่วยทำให้เกิดสมาธิและปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ส่วนสมาธิบำบัด SKT เป็นการฝึกการควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก สิ้น สัมผัส และการเคลื่อนไหว เป็นการนำหลักประสาทวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับการปฏิบัติสมาธิ จะทำให้ร่างกายได้รับสาร เมลาโทนิน (Melatonin) สารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน รักษาความสมดุลให้กับร่างกาย ช่วยในการกำจัดของเสียภายในร่างกายและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเยียวยารักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มภูมิต้านทานโรคเรื้อรัง ลดอาการท้องผูก แก้ปัญหาไหลเวียนโลหิต ภูมิแพ้ ช่วยให้นอนหลับดี หลับลึก รักษาอาการนอนไม่หลับได้ และยังช่วยในการรักษาโรคพาร์กินสัน ด้วยการทำสมาธิบำบัด SKT มีวิธีการทำที่ง่าย และให้ผลดีในหลายด้าน SKT คือตัวย่อที่มาจากชื่อของ รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิคนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 19,720.00 | 1 | 19,720.00 | |
1 ส.ค. 67 - 31 ต.ค. 67 | จัดอบรมให้ความรู้ตามหัวข้อกิจกรรม | 50 | 19,720.00 | ✔ | 19,720.00 |
1 ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังด้วยโยคะได้ถูกต้อง
2 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
3 ผู้สูงอายุสามารถผ่อนคลายด้วยการมาพบปะเพื่อนๆ
4 ผู้สูงอายุสามารถทำสมาธิบำบัด SKT ได้ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 11:08 น.