กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย ตำบลทุ่งลาน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

รพ.สต.ทุ่งลาน

ตำบลุงลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๓ ปีสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มักเกิดจากพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูในการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ส่งผลให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก หรือต้องมีการรักษาที่ยุ่งยากตามมาในอนาคตในปัจจุบัน
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3 ปี มีอัตราฟันน้ำนมผุเฉลี่ย ร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) 2.8 ซี่/คน และร้อยละ 2.3 ของเด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปาก นอกจากนี้พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52.0 หรือ เฉลี่ย 2.7 ซี่/คน และมีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 40 ปี
การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจึงมีความสำคัญ และลดโอกาสเกิดฟันแท้ผุได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำเพิ่มเติมคือ พฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์ได้แก่ การแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และพฤติกรรมการบริโภคนม จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพที่ยั่งยืน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพปาก

ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพปากร้อยละ 80

0.00
2 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่เด็ก

ผู้เลี้ยงดูเด็กมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ 80

0.00
3 เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 80
เด็กในศูนย์เด็กเล็ก 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำโครงการฯ ไม่ใช้งบประมาณ พฤศจิกายน 2567 2.ประสานงานกับผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการไม่ใช้งบประมาณ พฤศจิกายน 2567 3.ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไม่ใช้งบประมาณพฤศจิกายน 2567 4.จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องทันตสุขภาพ แก่ผู้ปกครอง และคุณครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ค่าตอบแทนวิทยากร 600.00 บาท x 4 ชม. เป็นเงิน 2,400.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 30 บาท เป็นเงิน 2,400.00 บาท - ป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน ๑ ผืน ผืนละ 500.00 บาท เป็นเงิน 500.00 บาท - คู่มือความรู้เรื่อง ทันตสุขภาพ จำนวน 80 เล่ม เล่มละ 30.00 บาท เป็นเงิน 2,400.00 บาท - แปรงสีฟัน จำนวน 70 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
- ยาสีฟัน จำนวน 70 คน x 35 บาท เป็นเงิน 2,450 บาทธันวาคม 2567 5.สอนสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีและฝึกย้อมสีฟัน แก่ผู้ปกครอง และคุณครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ใช้งบประมาณ ธันวาคม 2567 6.บริการทันตกรรม ทาฟลูออไรด์วานิช ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ฟลูออไรด์วานิช จำนวน 2 หลอดหลอดละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800.00 บาท - พู่กันทาฟลูออไรด์วานิช จำนวน 3 กระปุก กระปุกละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาทธันวาคม 2567 7.จัดป้ายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน - ป้ายไวนิลความรู้ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ผืน ผืนละ 500.00 บาท เป็นเงิน 1,000.00 บาทธันวาคม 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากแข็งแรงปราศจากโรคฟันผุ
2.ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ที่ถูกต้องและทักษะในการดูแลสุขภาพปากที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>