กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย ตำบลทุ่งลาน ปี 2567
รหัสโครงการ L5169-67-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 15,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีรัตน์ จันทคาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 15,150.00
รวมงบประมาณ 15,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๓ ปีสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มักเกิดจากพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูในการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ส่งผลให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก หรือต้องมีการรักษาที่ยุ่งยากตามมาในอนาคตในปัจจุบัน
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 3 ปี มีอัตราฟันน้ำนมผุเฉลี่ย ร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) 2.8 ซี่/คน และร้อยละ 2.3 ของเด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปาก นอกจากนี้พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52.0 หรือ เฉลี่ย 2.7 ซี่/คน และมีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 40 ปี การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจึงมีความสำคัญ และลดโอกาสเกิดฟันแท้ผุได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำเพิ่มเติมคือ พฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์ได้แก่ การแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และพฤติกรรมการบริโภคนม จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพที่ยั่งยืน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพปาก

ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพปากร้อยละ 80

100.00
2 ผู้เลี้ยงดูเด็กมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่เด็ก

ผู้เลี้ยงดูเด็กมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ 80

100.00
3 เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

เด็กในศูนย์เด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 15,150.00 0 0.00 15,150.00
9 ก.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 70 15,150.00 - -
รวมทั้งสิ้น 70 15,150.00 0 0.00 15,150.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากแข็งแรงปราศจากโรคฟันผุ
2.ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ที่ถูกต้องและทักษะในการดูแลสุขภาพปากที่เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 11:16 น.