2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและสร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทยพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย (ข้อมูล กองระบาดวิทยา) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 153,734 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,926 ราย) อัตราป่วย 232.47 ต่อประชากรแสนคนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.4 เท่า ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน จำนวน 168 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 25 - 34 ปี ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ ไปรักษาช้า มีโรคประจำตัว และยังรวมถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่อประจำถิ่นอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันใหม่ โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS CoV) ไข้หวัดนก โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม 2567) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 43 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 161.85 ต่อประชากรแสนคน ตำบลทุ่งลาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 208.94 ต่อประชากรแสนคน และโรคติดต่ออื่นๆประกอบด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 416.38 ต่อประชากรแสนคน โรคมือ เท้า ปาก จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.93 ต่อประชากรแสนคน และโรคบิดอะมีบา จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 66.62 ต่อประชากรแสนคน
สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด จำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค และกลุ่มที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่สำคัญได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนรวมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ตำบลทุ่งลาน ปี 2567
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?