กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ตำบลทุ่งลาน ปี 2567
รหัสโครงการ L5169-67-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีรัตน์ จันทคาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 42,000.00
รวมงบประมาณ 42,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและสร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทยพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย (ข้อมูล กองระบาดวิทยา) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 153,734 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 2,926 ราย) อัตราป่วย 232.47 ต่อประชากรแสนคนผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 3.4 เท่า ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน จำนวน 168 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 โดยอัตราป่วยตายสูงสุดในกลุ่มอายุ 25 - 34 ปี ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ ไปรักษาช้า มีโรคประจำตัว และยังรวมถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่อประจำถิ่นอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันใหม่ โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS CoV) ไข้หวัดนก โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (ข้อมูล ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม 2567) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 43 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 161.85 ต่อประชากรแสนคน ตำบลทุ่งลาน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 208.94 ต่อประชากรแสนคน และโรคติดต่ออื่นๆประกอบด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 25 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 416.38 ต่อประชากรแสนคน โรคมือ เท้า ปาก จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.93 ต่อประชากรแสนคน และโรคบิดอะมีบา จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 66.62 ต่อประชากรแสนคน
สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด จำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการเฝ้าระวังและควบคุมโรค และกลุ่มที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่สำคัญได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนรวมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ตำบลทุ่งลาน ปี 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชน ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเฝ้าระวังโรคติดต่อร้อยละ 100

100.00
2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชน มีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชนและสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคติดต่อ

100.00
3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถบอกวิธีและปฏิบัติในป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้ถูกวิธี

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (การทำ Pre test – Post test)

100.00
4 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

80.00
5 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

80.00
6 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ค่า CI ร้อยละ 0 ในโรงเรียนและหมู่บ้าน
  • ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10 ในแต่ละหมู่บ้าน
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 106 42,000.00 0 0.00
9 ก.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ และการบันทึกข้อมูลผ่านแอปพลอเคชั่น สมาร์ท อสม. 106 42,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. ชุมชนมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญหลักของพื้นที่และสามารถจัดการด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถบอกวิธีและปฏิบัติในป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้ถูกวิธี 4. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาหลักของพื้นที่ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี 5. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ 6. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายทำลายแหล่งเพาะพันธ์แพร่ระบาดของโรคติดต่ออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2567 13:05 น.