กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางสาวพีระดี ดำสีใหม่
2.นางนราวรรณ ช่วยชีพ
3.นางสาวธิตติยา เพชรรัตน์
4.นางสาวณัฐกฤตา สุขโข
5.นางสาวนิภาพรรณ์ ปักษานนท์

ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

50.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

50.00

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นตำบลเชิงแสเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวน ปลูกพืชผัก ซึ่งมีผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของปี 2567 มีผลการตรวจดังนี้ มีผลเลือดในระดับปลอดภัยร้อยละ 45 ผลเลือดในระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 52 และผลเลือดในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 3จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในตำบลเชิงแส ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ สามารถการป้องกันและลดอันตรายจากสารพิษตกค้างในร่างกาย

จากข้อมูลดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรในตำบลเชิงแส ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

80.00 1.00
2 เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเบื้องต้นแก่เกษตรกร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

80.00 1.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง

ร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง

30.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1.จัดทำโครงการและเสนอโครงการ
2.ประสานติดต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการ
3.ประชาสัมพันธ์โครงการในกลุ่มเป้าหมาย
4.ดำเนินการจัดโครงการ
4.1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน
4.2 ทดสอบความรู้ก่อน - หลังเข้าร่วมโครงการ
5. รายงานผลการดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเกษตรกรในเขตตำบลเชิงแส จำนวน 100 คน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  2. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1. ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเกษตรกรในเขตตำบลเชิงแส จำนวน 100 คน
งบประมาณ
- กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดโดยใช้กระดาษโคลีนเอสเตอเรส
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด
1. ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยซ้ำ
งบประมาณ
- กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 30 กลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
2. กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดโดยกระดาษโคลีนเอสเตอเรส
3.กลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง


>