กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพ
รหัสโครงการ 2568-L5164-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ภควรรษ สังค์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวน(คน)ผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
50.00
2 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นตำบลเชิงแสเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวน ปลูกพืชผัก ซึ่งมีผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของปี 2567 มีผลการตรวจดังนี้ มีผลเลือดในระดับปลอดภัยร้อยละ 45 ผลเลือดในระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 52 และผลเลือดในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 3จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในตำบลเชิงแส ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ สามารถการป้องกันและลดอันตรายจากสารพิษตกค้างในร่างกาย

จากข้อมูลดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสุขภาพขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรในตำบลเชิงแส ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ

80.00 1.00
2 เพื่อตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเบื้องต้นแก่เกษตรกร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

80.00 1.00
3 เพื่อติดตามกลุ่มที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง

ร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง

30.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,100.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ 0 10,500.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด 0 800.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยซ้ำ 3 เดือน 0 800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมี และการใช้สมุนไพรล้างพิษ
  2. กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดโดยกระดาษโคลีนเอสเตอเรส 3.กลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2567 07:56 น.