2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนมาก ศาสตร์การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ ที่สามารถเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและคุกคามสุขภาพของประชากร ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และทางด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก โรคความดันโลหิตสูงก็เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เจอได้พร้อมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ในปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ 41 ล้านคนหรือ ร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด2 อัตราอุบัติการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น3 อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 เท่ากับ 11,197.26, 12,067.73, 12,605.54, 13,352.94 และ 13,854.55 ตามลำดับและจากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International diabetes federation : IDF) ได้รายงานว่าใน ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ๔ ล้านคนต่อปี เฉลี่ย ๘ วินาทีต่อ ๑ คน สำหรับผู้เป็นเบาหวานพบ มากกว่า ๓๐๐ ล้านคน ความชุกของเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประเทศที่กำลังพัฒนาต้องแบกรับภาระการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ที่เป็นเบาหวานในกลุ่มคนที่อายุน้อยและกำลังอยู่ในวัยทำงาน (๓๕-๖๔ ปี) ซึ่งต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ
ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 90 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 616 คน และผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 291 คน และพบจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนจึงได้นำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
สามารถเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?