กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ L5169-67-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีรัตน์ จันทคาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 16,600.00
รวมงบประมาณ 16,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนมาก ศาสตร์การแพทย์แผนไทยเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ ที่สามารถเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและคุกคามสุขภาพของประชากร ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และทางด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก โรคความดันโลหิตสูงก็เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เจอได้พร้อมกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ในปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประมาณ 41 ล้านคนหรือ ร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด2 อัตราอุบัติการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น3 อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 เท่ากับ 11,197.26, 12,067.73, 12,605.54, 13,352.94 และ 13,854.55 ตามลำดับและจากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International diabetes federation : IDF) ได้รายงานว่าใน ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน ๔ ล้านคนต่อปี เฉลี่ย ๘ วินาทีต่อ ๑ คน สำหรับผู้เป็นเบาหวานพบ มากกว่า ๓๐๐ ล้านคน ความชุกของเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประเทศที่กำลังพัฒนาต้องแบกรับภาระการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ที่เป็นเบาหวานในกลุ่มคนที่อายุน้อยและกำลังอยู่ในวัยทำงาน (๓๕-๖๔ ปี) ซึ่งต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ
ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานพบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 90 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 616 คน และผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 291 คน และพบจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนจึงได้นำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยร้อยละ 90

80.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลทุ่งลานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

ประเมินจากการติดตาม ตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ร้อยละ 40

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 16,600.00 0 0.00
9 ก.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมการดูแลดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย 60 16,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้อง 2 จำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลทุ่งลาน มีแนวโน้มภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2567 10:16 น.