กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

ชมรม อสม.ม.3

1.นางสาวรีย์ หลงกูนัน
2. นางสาวสีฮาร์ยา เด็นหมาน
3. นางสาวอูมีกัลสม เหะนะ
4. นางสาวฮานีย๊ะ ปูหยัง
5. นางสาวฮำเบี๊ยะ ปูหยัง

ตำบลตำมะลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทั้งด้านเศรษฐกิจ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบด้านอาหาร โภชนาการและวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาหารและโภชนาการนับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัย ได้แก่ ภาะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน และพฤติกรรมการบริโภคที่มีสัดส่วนไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม จากการดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตเด็กก่อนวัยเรียน ปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล พบว่าเด็กกลุ่มเป้าหมาย อายุ 0-6 ปี จำนวน 151 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 74.19 และมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (เตี้ย ผอม ค่อนข้างผอม เริ่มอ้วน อ้วน) ร้อยละ 9.93, 7.94, 0.66, 6.62 และ 0.66 ตามลำดับ
ดังนั้น อสม.หมู่ที่ 3 ตำบลตำมะลัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไขภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินขึ้นมา เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข ส่งเสริมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับวัยส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วนตลอดไป

0.00
2 -

 

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการที่สมวัย 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและเหมาะสมตามช่วงวัย
  1. ร้อยละ 70 ของเด็กอายุแรกเกิด - 6 ปี ได้รับการคัดกรองโภชนาการเพื่อเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ
  2. ร้อยละ 68 ของเด็กอายุแรกเกิด - 6 ปี ที่ได้รับการคัดกรอง มีภาวะโภชนาการสมวัย
  3. ร้อยละ 88 ของผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ อาหารตามช่วงวัย พร้อมสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้
0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 168
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการฯ 1.1 กลุ่มเป้าหมาย แกนนำ อสม. จำนวน 20 คน

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเฝ้าระวังและคัดกรองโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเฝ้าระวังและคัดกรองโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมเฝ้าระวังและคัดกรองโภชนาการ 2.1 กลุ่มเป้าหมาย
    • เด็กอายุ 0-6 ปี ในชุมชนตำบลตำมะลัง จำนวน 168 คน
    • อสม. ร่วมดำเนินกิจกรรมคัดกรองโภชนาการฯ จำนวน 30 คน
    • กิจกรรมเฝ้าระวังคัดกรองโภชนาการในชุมชนดำเนินการ 3 ครั้ง
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน 168 คน x 30 บาท x 3 ครั้ง
    = 15,120 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม. จำนวน 30 คน x 30 บาท x 3 ครั้ง = 2,700 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x3 เมตร
    จำนวน 2 ป้าย x600 บาท
    = 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 19,020 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19020.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาวะโภชนาการฯ

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาวะโภชนาการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาวะโภชนาการฯ 3.1 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 30 คน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 3วัน
    = 5,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนx 60 บาท x 1 มื้อ x 3 วัน
    = 5,400 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชม. x 600บาท x 3วัน = 9,000 บาท
  • ค่าห้องประชุม รพ.สต.ตำมะลัง 500 บาท x 3 วัน = 1,500 บาท
  • วัสดุ/อุปกรณ์/เอกสาร ในการอบรม 30 ชุด x 0 บาท = 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 22,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-6 ปี ได้รับการคัดกรองโภชนาการ
2. เด็กอายุ 0-6 ปี ที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตาม
3. เด็กอายุ 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการสมวัย


>