กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแส โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางสาวธิตติยา เพชรรัตน์
2.นางนราภัทร เส้งเอียด
3.นางนราวรรณ ช่วยชีพ
4.นางสาวสุพรรนี แซ่จิว
5.นางสาวณัฐกฤตา สุขโข

ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยรุ่น ถือเป็นช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตแห่งชีวิต หากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสังคมของวัยรุ่นนั้น มักจะเริ่มต้นจากโรงเรียน สถานศึกษา เป็นวัยที่มีการหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียน และนำความรู้ที่ได้มาไปประกอบอาชีพในอนาคต สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต จากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้วัยรุ่นถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต การหลงผิดจากการชักจูงของเพื่อน อยากทดลอง การใช้สารเสพติด สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้วัยรุ่นเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ส่งผลให้การศึกษาเล่าเรียนไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากสถิติการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำร้ายตนเองของนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา (อายุ 13-18 ปี) ในปี พ.ศ.2565 – 2567 ทั้งหมดจำนวน 15 ราย เป็นนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลชิงแส จำนวน 6 รายและทำร้ายตนเองซ้ำ จำนวน 4 ราย ทางศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแสได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะในการบริหารจัดการความเครียด รวมถึงปัญหายาเสพติดและโรคต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกัน แนะนําแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลเชิงแสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบันและการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีแก้ปัญหาในวัยรุ่นที่ถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำแบบทดสอบก่อนรับการอบรม
  2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นในปัจจุบัน
  3. ให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของวัยรุ่น
  4. ให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด
  5. ให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันตนเอง และวิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
  6. ตอบข้อซักถาม
  7. ทำแบบทดสอบหลังการอบรม

เป้าหมาย
- นักเรียนวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี)จำนวน 30 คน

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 35 บาท * 2 มื้อ * 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 70 บาท * 1 มื้อ * 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะในการบริหารจัดการความเครียด รวมถึงปัญหายาเสพติดและโรคต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกัน แนะนําแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบต่างเพศ และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะ
3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้


>