โครงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น |
รหัสโครงการ | 2568-L5164-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ |
วันที่อนุมัติ | 4 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 4,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ภควรรษ สังค์ทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัยรุ่น ถือเป็นช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตแห่งชีวิต หากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสังคมของวัยรุ่นนั้น มักจะเริ่มต้นจากโรงเรียน สถานศึกษา เป็นวัยที่มีการหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียน และนำความรู้ที่ได้มาไปประกอบอาชีพในอนาคต สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิต จากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้วัยรุ่นถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต การหลงผิดจากการชักจูงของเพื่อน อยากทดลอง การใช้สารเสพติด สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้วัยรุ่นเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ส่งผลให้การศึกษาเล่าเรียนไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากสถิติการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำร้ายตนเองของนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา (อายุ 13-18 ปี) ในปี พ.ศ.2565 – 2567 ทั้งหมดจำนวน 15 ราย เป็นนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลชิงแส จำนวน 6 รายและทำร้ายตนเองซ้ำ จำนวน 4 ราย ทางศูนย์สุขภาพชุมชนเชิงแสได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะในการบริหารจัดการความเครียด รวมถึงปัญหายาเสพติดและโรคต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกัน แนะนําแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลเชิงแสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบันและการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีแก้ปัญหาในวัยรุ่นที่ถูกต้อง |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้ ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่น | 0 | 4,200.00 | - | ||
รวม | 0 | 4,200.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงปัญหาวัยรุ่นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบต่างเพศ และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะ
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 13:41 น.