กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนก่อนป่วย ด้วยสมุนไพรไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทักษอร

1.นางสาววิริญญา จ่าวิสูตร (083-6585659)
2.นางนัสรีน วราคนางค์
3.นางอารีย์ วราคนางค์
4.นางสาววรรณา หยงสตาร์
5.นางสาววิลาวัณย์ เจ๊ะสา

ม.5 บ้านท่าศิลา ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมถึงประเทศไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease, ESRD) ที่ จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่งการบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต เรื้อรังและชะลอความเสื่อยมของไต ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดัน โลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึง การติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน อาหาร การออก กำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกลุ่มประชาชนที่มีความ เสี่ยง และเกิดการชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ชุมชนบ้าน ทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 8 ) จึงจัดทำโครงการป้องกันและชะลอการเสื่อมไต ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมการทานอาหารที่เหมาะสมกับอายุ และธาตุเจ้าเรือน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการเลือกทานอาหารที่เหมาะสมกับอายุ และธาตุเจ้าเรือน อย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมการยืดเหยียดร่างกาย และการใช้สมุนไพรพอกเข่า พอกตา พอกผิว

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการยืดเหยียดร่างกาย และการใช้สมุนไพรพอกเข่า พอกตา พอกผิว อย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/08/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนก่อนป่วย ด้วยสมุนไพรไทย

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนก่อนป่วย ด้วยสมุนไพรไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ไวนิล 500 บาท 2.อาหารกลางวัน 30 คน x 50บาทx 2 วัน = 3,000 บาท 3.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 30 คน x 25 บาท x 4 มื้อ = 3,000 บาท
4.วิทยากรโดยแพทย์แผนไทย 600 บาทx 10 ชั่วโมง = 6,000 บาท 5.วัสดุสาธิต1,400 บาท ชุดสมุนไพรพอกตา - สำลี 40 บาท x 5 ชุด = 200 บาท - ผงฟ้าทะลายโจร 2 ขีด x 50 บาท =100 บาท - ผงบัวบก 2 ขีด x 50 บาท = 100 บาท - ผงบอระเพ็ด 2 ขีด x 50 บาท =100 บาท
- ไข่เป็ด 30 ฟอง x 6 บาท = 180 บาท
ชุดสมุนไพรพอกเข่า -สมุนไพร 6 ขีด x 50 บาท (พริกไทย ว่านหอมแดง กระเทียม กระชาย ข่า ) = 300 บาท -แอลกอฮอล์ 1 ลิตร= 120 บาท -ผ้าขนหนู 30 ผืน x 10 บาท = 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กันยายน 2567 ถึง 4 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการเลือกทานอาหารที่เหมาะสมกับอายุ และธาตุเจ้าเรือน อย่างเหมาะสม
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการยืดเหยียดร่างกาย และการใช้สมุนไพรพอกเข่า พอกตา พอกผิว อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,900.00 บาท

หมายเหตุ :
กำหนดการโครงการปรับเปลี่ยนก่อนป่วย ด้วยสมุนไพรไทย

วันที่ 1
09:00-09:30 น. ลงทะเบียน
09:30-10:00 น. ประธานในพิธีกล่าวเปิดกิจกรรม
10:00-10:45 น. วิทยากรบรรยายให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
10:45-11:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11:00-12:00 น. วิทยากรบรรยายการตรวจธาตุเจ้าเรือนเพื่อวิเคราะห์สุขภาพ และแนะนำอาหารที่เหมาะสม
12:00-13:00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13:00-14:30 น. อบรมเชิงปฏิบัติการพอกตา และพอกเข่า
14:30-14:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14:45-16:00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการพอกผิวเพื่อลดผดผื่นคัน

วันที่ 2
09:30-10:00 น. ลงทะเบียน
10:00-10:45 น. วิทยากรบรรยายการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดร่างกายและฝึกลมหายใจเพื่อช่วยลด
ความตึงเครียด และความอ่อนล้าจากอิริยาบทที่ไม่เหมาะสม
10:45-11:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11:00-12:00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการการยืดเหยียดร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน
12:00-13:00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13:00-14:00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการนวดคอ บ่า ไหล่ เบื้องต้นเพื่อผ่อนคลายความเครียด
14:00-14:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.15-16.00 น. ทำแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพเพื่อการติดตามผลหลังการดำเนินโครงการ ทำแบบประเมินโครงการ
16:00 น.ปิดการอบรม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ความรู้ ได้แนวทางการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง มีสุขภาพจิตดี มีกิจกรรมการเข้าสังคมลดความโดดเดี่ยว ลดความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้


>