กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1.นายเอนก กลิ่นรส
2.นางสาวณัฏฐณิชาสมจิตร
3.นางกิตติยา พรหมปาน
4.นางสาวเบญจมาศ เกื้อสุข

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต และอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับในบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ดังนั้นการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ พื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงายมีความเสี่ยงการเกิดอุบติเหตุทางท้องถนนมากมายทำให้เกิดการสูญเสีย อีกทั้งคนในพื้นที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงาย มีกลุ่มแกนนำจิตอาสาหลายกลุ่ม แต่เนื่องจากยังขาดทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล

1.ผู้เข้ารับการอบรมฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ

2.อัตราการเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหันลดน้อยลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บรรยายเรื่องความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการใช้เครื่อง AED พร้อมฝึกปฏิบัติ

1.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน4,000 บาท

3.ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน6,000 บาท

4.ชุดคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 80 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

5.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 × 3 เมตรเป็นเงิน 500 บาท

6.ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามก่อนและหลังการอบรม จำนวน 80 ชุด ชุดละ 2 บาทเป็นเงิน 160 บาท

-รวมเป็นเงิน 18,660บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยหกสิบบาทถ้วน)-

(สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 80

2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกับหุ่นได้ถูกต้อง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 80
2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกับหุ่นได้ถูกต้อง ร้อยละ 100
3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างถูกวิธีก่อนถึงโรงพยาบาล
4.สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้


>