โครงการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
ชื่อโครงการ | โครงการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป รพ.สต.บ้านทุ่งยาว |
รหัสโครงการ | 2568-L3351-01-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว |
วันที่อนุมัติ | 1 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 18,660.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเอนก กลิ่นรส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต และอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับในบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ดังนั้นการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ พื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงายมีความเสี่ยงการเกิดอุบติเหตุทางท้องถนนมากมายทำให้เกิดการสูญเสีย อีกทั้งคนในพื้นที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตพื้นที่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 ตำบลโคกชะงาย มีกลุ่มแกนนำจิตอาสาหลายกลุ่ม แต่เนื่องจากยังขาดทักษะด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล 1.ผู้เข้ารับการอบรมฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ 2.อัตราการเสียชีวิตด้วยภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหันลดน้อยลง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 18,660.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 30 มิ.ย. 68 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ | 0 | 18,660.00 | - |
1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 80
2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกับหุ่นได้ถูกต้อง ร้อยละ 100
3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างถูกวิธีก่อนถึงโรงพยาบาล
4.สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2567 00:00 น.