กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอชรา ชีวายืนยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

รพ.สต.ทุ่งลาน

ตำบลทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged society) เนื่องจากจานวนประชากรผู้สูงอายุ ได้มีการเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงขนาดและสัดส่วน โดยในปีพ.ศ.2562 มีจานวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 17.5 และในปี2563 จะเป็น ครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก ในอนาคตอันใกล้ ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น อีกมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์(Complete Aged Society) คือมีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ในปี2564 และคาดว่าในปีพ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 28 จะเห็นว่าความเร็วของการเปลี่ยนจากสังคมสูงวัย (Aged Society) เข้าสู่ สังคม สูงวัยแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ของประเทศไทยจะใช้เวลาสั้นกว่ามาก เมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558) ประกอบกับสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ80 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน และผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่อผู้สูงอายุมีจานวนมากขึ้น อัตราส่วน ประชากรวัยแรงงานต่อการการดูแลวัยสูงอายุ 1 ราย จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยปีพ.ศ. 2558 ผู้สูงอายุ 1 คน มีวัยแรงงานดูแล 6.8 และปีพ.ศ.2593 ผู้สูงอายุ1 คน มีวัยแรงงานดูแล 2.0 การที่ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ส่งผล ให้เกิดโรค หรือกลุ่มอาการสูงอายุจากความเสื่อม อันเนื่องมาจากการสูงวัยมากขึ้นตามด้วย ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยสูงอายุ จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยา รวมทั้งการดูแลรักษาฟื้นฟูที่แตกต่างจากผู้ป่วยวัยอื่น ๆ เช่น ระบาดวิทยาของโรค ลักษณะทางคลินิก และการวินิจฉัยโรค ดังนั้นการดูแลรักษาจึงต่างจากผู้ป่วยวัยอื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่ยิ่งมีอายุมาก การดูแลรักษาย่อมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง เสื่อม หรือ ภาวะพลัดตกหกล้ม ด้านสุขภาพช่องปาก ด้านภาวะโภชนาการ ด้านสุขภาพจิต ด้านสิ่งแวดล้อม สมควรได้รับการดูแลรักษาที่เป็นเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และได้รับการ ส่งต่อ เพื่อรับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและเหมาะสม
ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานมีประชากร ผู้สูงอายุ ร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งตำบลถือเป็นสังคมผู้สูงอายุก่อนจัดทําแผนการส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan ผู้สูงอายุจําเป็นต้อง ทําความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนของ Wellness Plan มีความรู้ความ เข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทาง 6 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุด้านโภชนาการสําหรับผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสมอง“ผู้สูงอายุสมองดี”สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ความสุขของผู้สูงอายุสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสําหรับผู้สูงอายุจากข้อมูลเบื้องต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอชรา ชีวายืนยาวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมร้อยละ80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการ สามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี

ผู้สูงอายุมีการปฎิบัติตัวตามแผนการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ80

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมได้ร่วมพูดคุยและมีกำลังใจ สร้างความรัก ความสามัคคี ความสัมพันธ์ที่มีระหว่าง ผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันมในสังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข

ผู้สูงอายุมีการเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับสมาชิกและผู้อื่นได้เดือนละ 1 ครั้ง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอ ชรา ชีวายืนยาว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอ ชรา ชีวายืนยาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม    ไม่ใช้งบประมาณ  พฤศจิกายน 2567 กิจกรรมอบรมการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดีชลอ ชรา ชีวายืนยาว
-ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 50 ชุด ชุดละ 45 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการอบรม กระดาษบรูฟ ปากกาเมจิก ดินสอสี กระดาษ A4  ,ใบเกียรติบัตร เป็นเงิน 4,550 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน จำนวน 2 มื้อมื้อละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน จำนวน 4 มื้อ มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 14ชม.ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 4200 บาท  17-18 ธันวาคม 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองได้ และสามารถจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan) และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดี 2.ชมรมส่งเสริมผู้สูงอายุ สามารถผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ 3.ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่เพื่อนสมาชิกชมรม/กลุ่มทางสังคมของผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้ที่สนใจต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>